กิจกรรม 17-21 มกราคม 2554

ส่งงาน


ตอบ 2.การเกิดหินงอก หินย้อย     การเผากระดาษ
อธิบาย
              หินงอกคือหินที่งอกจากพื้น หินย้อย คือหินที่ย้อยลงมาจากด้านบน เกิดมากโดยเฉพาะภูเขาหินปูน ฝนที่ตกลงมามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ซึ่งละลายในน้ำฝน... กลายเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ไหลไปตามก้อนหิน.... และทำปฏิกิริยากับแคลเซียมตาร์บอเนต ที่มีอยู่ในหินปูน เกิดเป็นสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจน คาร์บอเนต ซี่งไหลไปตามพื้นถนังถ้ำ เมื่อน้ำระเหยหมดก็เหลือตะกอน สะสมเป็นหินงอกหินย้อย....
จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แบบช้าๆ....
    

          ประเภทของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีจำแนกได้ 3 ประเภทดังนี้
1. ปฏิกิริยาการรวมตัว (combination) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวมตัวของสารโมเลกุลเล็กรวมกันเป็นสารโมเลกุลใหญ่ หรือเกิดจากการรวมตัวของธาตุซึ่งจะได้สารประกอบ ดังเช่น
                                                                     
2. ปฏิกิริยาการแยกสลาย (decomposition) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการแยกสลายของสารโมเลกุลใหญ่ให้ได้สารโมเลกุลเล็กลง ดังเช่น



 3. ปฏิกิริยาการแทนที่ (replacement) เป็นปฏิกิริยาการแทนที่ของสารหนึ่งเข้าไปแทนที่อีกสารหนึ่ง ดังเช่น


ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึงสิ่งที่จะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ได้แก่
1. ความเข้มข้น สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารละลายที่เจือจาง
2. พื้นที่ผิว ของแข็งที่มีพื้นที่ผิวมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่า
3. อุณหภูมิ ที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
4. ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวคะตะลิสต์ (catalyst) เป็นสารชนิดต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น
ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวันและผลต่อสิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาเคมีเกิดจากสารทำปฏิกิริยากันแล้วได้สารใหม่ ซึ่งสารนั้นคือผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ รอบๆ ตัวเรามีปฏิกิริยาเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่าปฏิกิริยาเคมีมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างยิ่ง
ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน
1. ฝนกรด เมื่อเกิดฝนตกลงมา น้ำ (H2O) จะละลายแก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศตามธรรมชาติ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
เมื่อน้ำละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จะทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ดังสมการ
เมื่อน้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดไหลไปตามภูเขาหินปูนก็จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ในหินปูน และได้สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Ca(HCO3)2) ออกมา ดังสมการ


 เมื่อสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตไหลซึมไปตามเพดานถ้ำ น้ำจะระเหยไปเหลือแต่หินปูนเกาะจนกลายเป็นหินย้อยที่เพดานถ้ำ ถ้าสารละลายนี้หยดลงบนพื้นถ้ำ เมื่อน้ำระเหย ไปจะกลายเป็นหินงอกต่อไป
สรุปปฏิกิริยาเคมีในการเกิดหินย้อยและหินงอก



          อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการวัดจากปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลง หรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ในการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งในการเกิดปฏิกิริยาแต่ละปฏิกิริยาจะไม่เท่ากัน ปฏิกิริยาบางชนิดเกิดเร็ว เช่น การเผากระดาษ การระเบิดของดินปืน  ปฏิกิริยาบางชนิดเกิดอย่างช้าๆ เช่น การบูดของอาหาร ใช้เวลาเป็นวัน บางปฏิกิริยาเกิดช้ามาก เช่น การเกิดสนิมเหล็ก








ตอบ 4.ก ข ค และ ง
อธิบาย
                 การผลิตโลหะแมกนีเซียม แหล่งโลหะแมกนีเซียมที่สำคัญ คือ น้ำทะเลซึ่งอยู่ในรูปของ Mg2+ เมื่อนำน้ำทะเลมาทำให้เป็นเบสจะได้ตะกอนของ Mg(OH)2 แล้วนำมาทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก และทำให้แห้งจะได้ MgCl2 ที่เป็นของแข็ง เมื่อให้ความร้อนจน MgCl2 หลอมเหลวแล้วผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปจะได้โลหะแมกนีเซียม เกาะที่แคโทด และได้ก๊าซคลอรีนที่แอโนด

            
              สารละลายกรด ( Acid ) หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน ( H+) หรือสารที่ให้โปรตอนแก่สารอื่น ซึ่งสมบัติของกรดมีดังนี้
1. มีรสเปรี้ยว
2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
3. ทำปฏิกิริยากับโลหะเช่น สังกะสี ทองแดง เหล็ก จะได้ฟองแก๊สไฮโดรเจนออกมา
4. กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน เนื้อเยื่อของร่างกาย
5. กรดทำปฏิกิริยากับหินปูน หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
6. สารละลายกรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี
             

                

       
        กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (อังกฤษ: hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง
กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl
             
      ใน การผลิต กรดไฮโดรคลอริกปริมาณมากๆ จะเกี่ยวข้องกับการผลิตสารประกอบเคมีตัวอื่นๆในเชิงอุตสาหกรรมด้วยในอุตสาหกรรม คลอร์-อัลคะไล สารละลายเกลือจะถูกอิเล็กโตรไลซ์ จนได้ผลผลิตออกมาเป็นคลอรีน, โซเดียมไฮดรอกไซด์, และก๊าซไฮโดรเจน คลอรีนบริสุทธิ์ จะมาผสมกับก๊าซไฮโดรเจนแล้วเกิดเป็นก็ซ HCl บริสุทธิ์ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ เอ็กโซเทอร์มิก, ระบบติดตั้งนี้เรียกว่า ไฮโดรเจนคลอไรด์ โอเวน
Cl2 + H2 → 2HCl
ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์บริสุทธิ์ถูกดูด (absorption) ลงน้ำ ดีมิเนอไลซ์ได้เป็นกรดเกลือบริสุทธิ์ต่อไป
          
             ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD




ตอบ 4.มีกรดกำมะถันและกรดไนตริกปนอยู่
อธิบาย
             น้ำฝน จัดเป็นน้ำดื่มที่สะอาดบริสุทธิ์ มีรสชาดดี กินแล้วชื่นใจ ดังนั้นคนสมัยก่อนจึงนิยมดื่มน้ำฝนกันมาก ใครจะคิดบ้างละว่า น้ำฝนในปัจจุบันนั้นไม่ได้บริสุทธิ์ดังที่คิดเสียแล้ว น้ำฝนในปัจจุบัน นอกจากจะปะปนด้วยฝุ่นละออง สารเคมีพิษต่าง ๆ แล้วยังมีรสชาดเปรี้ยว ๆ อีกด้วย 
        ตามปกติน้ำฝนที่ตกลงมาจากฟากฟ้าจะมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากในบรรยากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับน้ำฝนก็จะได้กรดคาร์บอนิก แต่ในปัจจุบันฝนที่ตกลงมา โดยเฉพาะในประเทศอุตสาหกรรมจะมีสภาพเป็นกรดมาก ทั้งนี้เพราะโรงงานอุตสาหกรรม ยวดยานพาหนะได้ปล่อยก๊าซพิษเข้าสู่บรรยากาศ 
        ซึ่งก๊าซเหล่านี้เมื่อรวมตัวกับหยดน้ำในบรรยากาศก็จะกลายเป็นกรดผลก็คือ ทำให้ความเป็นกรดของน้ำฝนเพิ่มขึ้น ถ้าหากดื่มน้ำฝนที่มีรสเปรี้ยว ๆ นอกจากรสชาดไม่อร่อยแล้ว ยังมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะประชาชนในชนบทนิยมดื่มน้ำฝนกันมาก บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมฝนกรดเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้วมีผลถึงชนบทได้ 
        อันนี้เป็นเพราะก๊าซอันตรายที่ปล่อยออกจากโรงงานอุตสาหกรรม ถูกลมพัดไปไกล ๆ สู่ชนบท เมื่อฝนตกลงมา ชาวชนบทก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย 
        นอกจากนี้ ฝนกรดยังทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรท ฟอสเฟต ทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ผลผลิตของพืชลดลง และฝนกรดที่ตกลงมายังทำความเสียหายกับวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด ฝนกรดจะค่อย ๆ กัดกร่อนทำลายสิ่งก่อสร้าง ทำให้เสียค่าซ่อมแซมบำรุงมากขึ้น 
        ท่านจะสังเกตได้ว่า หลังคาชาวบ้านบริเวณใกล้โรงงานบางประเภทจะผุเร็วกว่าบริเวณอื่น ๆ นอกจากนี้เครื่องแอร์ ตู้เย็น ก็จะมีการผุกร่อนค่อนข้างเร็วด้วย สำหรับน้ำฝนในประเทศไทยเราโดยทั่วไปยังมีคุณภาพดี พบว่า บริเวณที่มีการทำอุตสาหกรรม มีแนวโน้มว่าน้ำฝนจะมีความเป็นกรดมากขึ้น แต่น้ำฝนในเมืองหรือบริเวณอุตสาหกรรมจะมีสิ่งเจือปนจำพวก ฝุ่นละออง สิ่งสกปรกต่าง ๆ มาก บางครั้งน้ำฝนจะรวมเอาสารพิษที่ปล่อยมาจากโรงงาน หรือจากการฉีดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้น้ำฝนมีสารมีพิษเจือปนอยู่ด้วย 
        ดังนั้น ในการรองน้ำฝนไว้ในการบริโภค จึงควรให้ฝนตกสักพักหนึ่งเสียก่อน เพื่อให้น้ำฝนชะล้างฝุ่นละออง สารพิษต่าง ๆ ให้หมดเสียก่อน จึงค่อยรองน้ำมาบริโภค จะทำให้น้ำฝนมีคุณภาพดีขึ้น อันตรายอันน่าสะพึงกลัวจากสภาพฝนกรดนี้ แม้จะมองไม่เห็นชัดเจนในทันทีทันใด หลังจากฝนตก และยังไม่พบว่ามีเกิดในประเทศไทย แต่จากตัวอย่างที่พบในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมและประเทศไทยเราก็มุ่งที่จะพัฒนาประเทศในทางอุตสาหกรรม คงมีสักวันหนึ่งที่น้ำฝนที่เรารับประทานกันมีสภาพเปรี้ยวเป็นกรด ถ้าหากขาดการวางแผนการควบคุมที่ดีพอ








ตอบ 1.ก และ ข
อธิบาย
             
             อนุภาคมูลฐาน (อังกฤษ: Elementary Particle) คืออนุภาคเป็นหน่วยย่อยที่สุดในทางทฤษฎีฟิสิกส์ เราไม่ถือว่ามันประกอบขึ้นมาจากสิ่งใดอีก อนุภาคมูลฐานที่เรารู้จักกันดีที่สุดคือ อิเล็กตรอน ซึ่งไม่สามารถแยกย่อยเป็นอนุภาคใดๆได้อีก
ในทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) แบ่งอนุภาคมูลฐาน เป็นสองพวกคือ เฟอร์มิออน เป็นอนุภาคที่ประกอบกันเป็นสสารได้แก่ ควาร์ก (quarks) และเลปตอน (leptrons) อีกพวกเป็นอนุภาคที่นำแรงหรืออนุภาคโบซอน (bosons)
อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่จัดอยู่ในกลุ่มของเลปตอน

             ชนิดของอนุภาคมูลฐาน
เฟอร์มิออน (fermion) เป็นอนุภาคสปินเลขครึ่งจำนวนเต็ม (half integer spin) เช่น 1/2 3/2 5/2 ฯลฯ
  1. โบซอน (boson) เป็นอนุภาคสปินเลขจำนวนเต็ม (integer spin) ประกอบด้วย
    1. โฟตอน (photon) อนุภาคนำแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
    2. อนุภาคซี (Z) อนุภาคดับบลิว (W+,W-) อนุภาคนำแรงนิวเคลียร์แบบอ่อน (weak nuclear force)
    3. อนุภาคกลูออน (gluon) อนุภาคนำแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม (strong nuclear force)
    4. กราวิตอน (graviton) อนุภาคนำแรงโน้มถ่วง (ยังไม่ถูกค้นพบ)
  2. ชนิดที่ยังไม่สามารถจำแนกได้
    1. อนุภาคฮิกส์ (Higgs particle) คาดว่าจะพบในสนามฮิกส์ ซึ่งมีอายุเพียงหนึ่งส่วนล้านล้านวินาที สร้างได้จากการชนกันของอนุภาคในเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ของศูนย์วิจัย CERN
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99

           โปรตอน (อังกฤษ: proton จากภาษากรีก: πρώτον / proton = เริ่มแรก) คืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเกาะอยู่ในนิวเคลียสหรือใจกลางของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน เช่น ไฮโดรเจนเป็นธาตุตัวที่ 1 เบาที่สุดมีโปรตอนตัวเดียว โปรตอนเกิดจากควาร์ก up 2 และ down 1 มีประจุ +1.60x10-19 คูลอมบ์ มีน้ำหนัก 1.67x10-27 กิโลกรัม ฮีเลียมมี 2 ตัว เหล็กมี 26 ตัว ยูเรเนียมมี 92 ตัว

       ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99

            
             นิวตรอน (อังกฤษ: Neutron) เป็นอนุภาคที่เป็นกลางไม่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในนิวเคลียส มีจำนวนใกล้เคียงกับโปรตอนแต่อาจแตกต่างกันได้ เช่น ในฮีเลียมมีนิวตรอน 2 ตัว เท่ากับโปรตอน แต่ในเหล็กมี 30 ตัว และในยูเรเนียมมีนิวตรอนถึง 146 ตัว นิวตรอนอาจเกิดจากการอัดอิเล็กตรอนกับโปรตอนดังเช่นในดาวฤกษ์มวลมาก นิวตรอนเกิดจากควาร์กอัพ 1 อนุภาค และควาร์กดาวน์ 2 อนุภาค มีน้ำหนัก 1.67 × 10−27</math> กรัม ซึ่งเท่ากับโปรตอน คำว่า "นิวตรอน" มาจากภาษากรีก neutral ที่แปลว่า เป็นกลาง
รัทเธอร์ฟอร์ด ( Ernest Rutherford) เป็นผู้ตั้งทฤษฎีการมีอยู่ของนิวตรอนเมื่อปี ค.ศ. 1920 โดยเขาพบว่าอะตอมของธาตุทุกชนิด เลขมวลจะมีค่าใกล้เคียงกับ 2 เท่าของเลขอะตอมเสมอ จึงสันนิษฐานได้ว่ามีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งที่ยังไม่ถูกค้นพบ
             ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99

                อิเล็กตรอน (อังกฤษ: Electron) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบวิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่น ไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมีโปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว
                 คุณสมบัติ
อิเล็กตรอนนั้นจัดได้ว่าเป็นอนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง อิเลคตรอนอยู่ในตระกูลเลปตอน (lepton) ที่เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเท่ากับ 1.60217646 * 10 − 19 คูลอมบ์ อิเล็กตรอนมีค่าสปิน s = 1/2 ทำให้เป็นเฟอร์มิออนชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนเป็นปฏิอนุภาค (anti-matter) ของโพซิตรอน

              ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99







ตอบ 2. 2 ,8, 8, 1
อธิบาย
             
              อะตอม (กรีก: άτομον; อังกฤษ: Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มเมฆของอิเล็กตรอนประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยส่วนประสมระหว่างโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมหนึ่งๆ ที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่าๆ กันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวกหรือลบก็ได้ เรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกคุณสมบัติทางเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกความเป็นไอโซโทป[1]
คำว่า อะตอม มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งมีความหมายว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบเล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไปด้วยกระบวนการทางเคมี ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ยังสามารถแบ่งแยกได้ หลักการของกลศาสตร์ควอนตัมเป็นหลักการที่นำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ[2][3]
ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กมากที่มีมวลน้อยมากๆ เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น scanning tunneling microscope มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมจะกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียส[note 1] โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่าๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปลงรูปทางนิวเคลียร์ที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป[4] อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม
อนุภาคหลักที่พบได้ในอะตอมทั่วไปมี 3 ชนิด คือ
  • โปรตอน มีประจุบวก อยู่ในส่วนนิวเคลียสเป็นแกนกลางของอะตอม
  • นิวตรอน ซึ่งไม่มีประจุ น้ำหนักใกล้เคียงกับโปรตอน ในอะตอมบางชนิดไม่มีนิวเคลียส เช่นอะตอมของโปรเทียม (ไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจน)
  • อิเล็กตรอน มีประจุลบ เบากว่าอนุภาคทั้งสองชนิดแรกมาก เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วอยู่รอบนิวเคลียส
อะตอมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามปฏิกิริยาเคมี ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติบนโลกนี้นั้นมีปรากฏอยู่ประมาณ 90 ชนิดเท่านั้น (นอกเหนือจากนี้มี ธาตุบางชนิดเช่น เทคนิเซียม และ แคลิฟอร์เนียม ที่พบได้ในซูเปอร์โนวา และธาตุที่เลขอะตอมสูง (มากกว่า 100 ขึ้นไป) ที่สามารถสังเคราะห์ได้จาก การนำอะตอมมาชนกันด้วยความเร็วสูง)
นอกจากธาตุที่เกิดตามธรรมชาติแล้ว ยังมีธาตุที่ถูกสร้างขึ้น แต่ธาตุเหล่านี้มักจะไม่เสถียร และ สลายไปเป็นธาตุอื่นที่เสถียร โดยกระบวนการสลายกัมมันตรังสี ตัวอย่างเช่น Beta Decay, Double Beta Decay, Beta Capture, Gamma Decay และอื่น ๆ
ถึงแม้ว่าจะมีธาตุที่เกิดตามธรรมชาติเพียง 90 ชนิด อะตอมของธาตุเหล่านี้สามารถสร้างพันธะเคมี รวมกันเป็นโมเลกุล และองค์ประกอบชนิดอื่นๆ โมเลกุลเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมหลายอะตอม เช่น โมเลกุลของน้ำเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอม และ อะตอมออกซิเจน 1 อะตอม
เนื่องจากอะตอมเป็นสิ่งที่มีอยู่ไปทั่วทุกที่ จึงเป็นหัวข้อศึกษาที่ได้รับความสำคัญในหลายศตวรรษที่ผ่านมา หัวข้อวิจัยทางด้านอะตอมในปัจจุบันจะเน้นทางด้าน quantum effects เช่น ของเหลวผลควบแน่นโบส-ไอน์สไตน์
         ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A1

               
           เลขมวล (mass number, A), หรือ เลขมวลอะตอม หรือ เลขนิวคลีออน เป็นผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน (โปรตอนและนิวตรอมเรียกรวมกันว่านิวคลีออน) ในนิวเคลียสอะตอม เพราะโปรตอนและนิวตรอนต่างก็เป็นแบริออน เลขมวล A ก็คือเลขแบริออน B ของนิวเคลียสของอะตอมหรือไอออน เลขมวลจะต่างกันถ้าเป็นไอโซโทปที่ต่างกันของธาตุเคมี เลขมวลไม่เหมือนกับเลขอะตอม (Z) ที่แสดงถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสและสามารถใช้ระบุบธาตุได้ ดังนั้นค่าที่ต่างกันระหว่างเลขมวลและเลขอะตอมจะบ่งบอกถึงจำนวนนิวตรอน (N) ในนิวเคลียส: N=A−Z[1]
เลขมวลจะถูกเขียนอยู่ด้ายหลังหรือมุมบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ เช่น ไอโซปโทปปกติของคาร์บอนคือ คาร์บอน-12 หรือ 12C ซึ่งมี 6 โปรตรอนและ 6 นิวตรอน สัญลักษณ์ไอโซปแบบเต็มรูปแบบจะมีเลขอะตอม (Z) ด้วยอยู่ด้านล่างซ้ายมือของสัญลักษณ์ธาตุ: 6C[2] ซึ่งวิธีนี้ไม่มีความจำเป็นนักจึงนิยมละเลขอะตอมไว้
ตัวอย่าง: การสลายในธรรมชาติของคาร์บอน-14จะแผ่รังสีเบต้า ด้วยวิธีนิวตรอนหนึ่งตัวถูกทำให้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นโปรตอนกับการปล่อยพลังงานของอิเล็กตรอนและอนุภาคต้าน ดังนั้นเลขอะตอมจะเพิ่มขึ้น 1 (Z: 6→7) และเลขมวลมีค่าเท่าเดิม (A = 14) ขณะที่เลขนิวตรอนลดลง 1 (n: 8→7)[3] อะตอมผลลัพธ์เป็นอะตอมไนโตรเจน-14ซึ่งมี 7 โปรตอนและ 7 นิวตรอน:
6C → 7N + e- + ve
ยูเรเนียม-238ปกติจะสลายให้รังสีแอลฟาซึ่งนิวเคลียสเสีย 2 นิวตรอนและ 2 โปรตรอนในรูปแบบของอนุภาคแอลฟา ดังนั้นเลขอะตอมและเลขนิวตรอนจะลดลงไป 2 (Z: 92→90, n: 146→144) ซึ่งเลขมวลจะลดไป 4 (A = 238→234) อะตอมผลลัพธ์เป็นอะตอมทอเรียม-234 และอนุภาคแอลฟา (2He2+):[4]
92U → 90Th + 2He2+









ตอบ 3.จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่สองของธาตุ A B และ C เท่ากัน
อธิบาย

               ตารางธาตุ
               
หมู่1A2A
3B4B5B6B7B8B8B8B1B2B3A4A5A6A7A8A
คาบ
11
H

2
He
23
Li
4
Be


5
B
6
C
7
N
8
O
9
F
10
Ne
311
Na
12
Mg


13
Al
14
Si
15
P
16
S
17
Cl
18
Ar
419
K
20
Ca

21
Sc
22
Ti
23
V
24
Cr
25
Mn
26
Fe
27
Co
28
Ni
29
Cu
30
Zn
31
Ga
32
Ge
33
As
34
Se
35
Br
36
Kr
537
Rb
38
Sr

39
Y
40
Zr
41
Nb
42
Mo
43
Tc
44
Ru
45
Rh
46
Pd
47
Ag
48
Cd
49
In
50
Sn
51
Sb
52
Te
53
I
54
Xe
655
Cs
56
Ba
*71
Lu
72
Hf
73
Ta
74
W
75
Re
76
Os
77
Ir
78
Pt
79
Au
80
Hg
81
Tl
82
Pb
83
Bi
84
Po
85
At
86
Rn
787
Fr
88
Ra
*
*
103
Lr
104
Rf
105
Db
106
Sg
107
Bh
108
Hs
109
Mt
110
Ds
111
Rg
112
Cn
113
Uut
114
Uuq
115
Uup
116
Uuh
(117)
Uus
118
Uuo

* แลนทาไนด์57
La
58
Ce
59
Pr
60
Nd
61
Pm
62
Sm
63
Eu
64
Gd
65
Tb
66
Dy
67
Ho
68
Er
69
Tm
70
Yb
** แอกทิไนด์89
Ac
90
Th
91
Pa
92
U
93
Np
94
Pu
95
Am
96
Cm
97
Bk
98
Cf
99
Es
100
Fm
101
Md
102
No

อนุกรมเคมีในตารางธาตุ
โลหะแอลคาไลโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทแลนทาไนด์แอกทิไนด์โลหะทรานซิชัน
โลหะหลังทรานซิชันธาตุกึ่งโลหะอโลหะแฮโลเจนก๊าซมีตระกูล

รหัสสีสำหรับเลขเชิงอะตอม:
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีน้ำเงิน เป็นของเหลวที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีเขียว เป็นก๊าซที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีดำ เป็นของแข็งที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีแดง เป็น ธาตุสังเคราะห์ (ทุกธาตุเป็นของแข็งที่ STP)
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีเทา ยังไม่มีการค้นพบ (ธาตุเหล่านี้ในตารางจะมีสีพื้นจาง ๆ ที่ใกล้เคียงกับสีพื้นของอนุกรมเคมีที่ธาตุดังกล่าวน่าจะเป็นสมาชิก)
            ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8
                

                  หมู่ตารางธาตุ(อังกฤษ: Periodic table group) คือคอลัมน์ในแนวดิ่งของธาตุเคมีในตารางธาตุ มีทั้งหมด 18 หมู่ในตารางธาตุมาตรฐานในยุคใหม่นี้การจัดหมวดหมู่ของธาตุในตารางธาตุจะพิจารณาจากการโคจรของอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมซึ่งคุณสมบัติทางเคมีของธาตุจะขึ้นอยู่กับการให้อิเล็กตรอนชั้นนอกสุดนี้ธาตุที่อะตอมมีวงโคจรของอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดเหมือนกันมักจะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์เหมือนกัน
หมู่ตารางธาตุมีรายละเอียดดังนี้ (ในวงเล็บเป็นระบบเก่า: ยุโรป-อเมริกัน):
  • หมู่ 1 (IA,IA): โลหะแอลคาไล
  • หมู่ 2 (IIA,IIA): โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท
  • หมู่ 3 (IIIA,IIIB)
  • หมู่ 4 (IVA,IVAB)
  • หมู่ 5 (VA,VB)
  • หมู่ 6 (VIA,VIB)
  • หมู่ 7 (VIIA,VIIB)
  • หมู่ 8 (VIII)
  • หมู่ 9 (VIII)
  • หมู่ 10 (VIII)
  • หมู่ 11 (IB,IB): the โลหะคอยน์เอจ (not a IUPAC-recommended name)
  • หมู่ 12 (IIB,IIB)
  • หมู่ 13 (IIIB,IIIA): หมู่โบรอน
  • หมู่ 14 (IVB,IVA): หมู่คาร์บอน
  • หมู่ 15 (VB,VA): พีนิคโคเจน (not a IUPAC-recommended name) or [url=]nitrogen group[/url]
  • หมู่ 16 (VIB,VIA): แชลโคเจน
  • หมู่ 17 (VIIB,VIIA): แฮโลเจน
  • หมู่ 18 (Group 0): ก๊าซมีตระกูล
คาบ(อังกฤษ:period)คือแถวในแนวนอนของธาตุเคมีในตารางธาตุ จำนวน[url=]อิเล็กตรอนเชลล์[/url] (electron shell)ของธาตุในตารางธาตุจะถูกกำหนดโดยคาบในตารางธาตุที่มันอยู่ แต่ละ[url=]อิเล็กตรอนเชลล์[/url]จะแบ่งเป็นชั้นย่อยๆอีกเรียกว่า[url=]ซับเชลล์[/url](subshell)ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นตามเลขอะตอมตามรูปแบบข้างล่างนี้:
              • 1s 2s           2p  3s           3p  4s        3d 4p  5s        4d 5p  6s     4f 5d 6p  7s     5f 6d 7p  8s  5g 6f 7d 8p  ...
ตามโครงสร้างตารางธาตุอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดของอะตอมจะกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุทำให้ธาตุในหมู่เดียวกันมีสมบัติทางเคมีคล้ายกัน
  • ธาตุที่อยู่ใกล้เคียงกันในหมู่เดียวกันจะมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์เหมือนกันถึงแม้ว่ามีมวลต่างกัน
  • ธาตุที่อยู่ใกล้เคียงกันในคาบเดียวกันแม้มีมวลใกล้เคียงกันคุณสมบัติ  จะแตกต่างกัน
  • โลหะแอลคาไล (อังกฤษ: Alkali metal) เป็นอนุกรมเคมี ประกอบด้วยธาตุในหมู่ 1 ในตารางธาตุ ไม่นับรวมไฮโดรเจน ประกอบด้วย
  • ลิเทียม,
  • โซเดียม,
  • โพแทสเซียม,
  • รูบิเดียม,
  • ซีเซียม และ
  • แฟรนเซียม
โลหะแอลคาไลเป็นธาตุโลหะที่อิเล็กตรอนวงนอกแค่ 1 ทำให้ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาสูงมาก ไม่พบธาตุในรูปอิสระตามธรรมชาติ ทำปฏิกิริยากับน้ำได้รุนแรงมากได้ก๊าซ H2 เมื่อเป็นไอออนจะมีประจุ +1 สารประกอบเกลือละลายน้ำได้ดี เช่น [url=]KCl[/url], [url=]NaCl[/url] นอกจากนั้นยังเป็นตัวนำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี มีความนิ่มกว่าโลหะกลุ่มอื่น ๆ
  • โลหะแอลคาไลน์เอิร์ธ (อังกฤษ:Alkaline earth metal) เป็นอนุกรมเคมี ประกอบด้วยธาตุในหมู่ 2 ในตารางธาตุ ได้แก่
  • เบริลเลียม,
  • แมกนีเซียม,
  • แคลเซียม,
  • สทรอนเชียม,
  • แบเรียม และ
  • เรเดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสี
โลหะแอลคาไลน์เอิร์ธเป็นธาตุที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูง แต่น้อยกว่าโลหะหมู่ 1 มีความหนาแน่น ความแข็งและจุดเดือดสูงกว่าธาตุหมู่ 1 เป็นไอออนที่มีประจุ +2
แฮโลเจน(อังกฤษ:halogens)เป็นอนุกรมเคมีของกลุ่มธาตุหมู่ 17 ในตารางธาตุซึ่งประกอบด้วย
  • ฟลูออรีน(F),
  • คลอรีน (Cl),
  • โบรมีน (Br),
  • ไอโอดีน (I),
  • แอสทาทีน (At)
  • อูนอูนเซปเทียม (Uus).
แฮโลเจนเป็นคำในภาษากรีก 2 คำคือ halo แปลว่าเกลือ gen แปลว่าสร้าง แฮโลเจนจึงแปลว่าผู้ทำให้เกิดเกลือ
ก๊าซมีตระกูล (อังกฤษ:noble gases) คืออนุกรมเคมีของกลุ่มธาตุเคมีในหมู่ 18 ของตารางธาตุ เป็นอนุกรมเคมีที่ประกอบด้วย
ฮีเลียม
นีออน
อาร์กอน
คริปทอน
ซีนอน และ
เรดอน
ก๊าซมีตระกูลเดิมมักจะเรียก[url=]ก๊าซเฉี่อย[/url] (inert gases) เพราะเข้าใจว่ามันไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุใด แต่มาระยะหลังพบว่ามันสามารถทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุต่างๆ ได้เหมือนกัน ก๊าซมีตระกูลมีแรงดึงดูดระหว่างอะตอมน้อยมากจึงทำให้มันมีจุดหลอมเหลวและ[url=]จุดเดือดต่ำ[/url]มากๆดังนั้นในภาวะปกติมันจึงเป็นก๊าซ
โลหะทรานซิชัน (อังกฤษ: transition metal) มีการนิยามความหมายของโลหะทรานซิชันในอนุกรมเคมี 2 ประการดังนี้
  • หมายถึงธาตุในบล๊อค-ดี (d-block) ของตารางธาตุซึ่งประกอบด้วยสังกะสี (Zn) และสแคนเดียม (Sc) ซึ่งหมายรวมถึงธาตุทั้งหมดในตารางธาตุหมู่ที่ 3 ถึง 12
  • ธาตุในบล๊อค-ดี (d-block) ทั้งหมดนี้จะมีอย่างน้อย 1 รูปแบบ ที่มี 1 ไอออน ที่อยู่ในวงโคจร-ดี (d shell of electrons)
คุณสมบัติของโลหะทรานซิชัน
  • สารประกอบของธาตุเหล่านี้จะมีสีสัน
  • ธาตุเหล่านี้มีหลายออกซิเดชั่นสเตตส์ (oxidation states)
  • ธาตุเหล่านี้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalysts) ที่ดี
  • ธาตุเหล่านี้มีสีฟ้า-เงินที่อุณหภูมิห้อง (ยกเว้นทองคำและทองแดง)
  • ธาตุเหล่านี้เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง (ยกเว้นปรอท)
  • สารประกอบของธาตุเหล่านี้สามารถจำแนกโดยการวิเคราะห์ผลึก








ตอบ 3. B อยู่เป็นอะตอมเดียวอย่างอิสระได้
อธิบาย

              
               เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ
เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray)ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ

           ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A1

             
                ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี
ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส
จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว
อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น

          ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5













ตอบ 2. X เป็นธาตุในหมู่ 2A
อธิบาย

             ธาตุหมู่ 2A  หรือโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ  (Alkaline-earth Metals)












...............ธาตุหมู่ 2A  หรือโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ  มีลักษณะเป็นโลหะเนื้ออ่อน  แต่มีความแข็งและมีความหนาแน่นมากกว่าธาตุหมู่ 1A  ส่วนใหญ่มีสีเงิน  ทำปฏิกิริยาได้ดีกับกับธาตุหมู่ 7A  และน้ำ  แต่ปฏิกิริยามีความรุนแรงน้อยกว่าธาตุหมู่ 1A  ธาตุหมู่ 2A  จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ชั้นนอกสุดเพียง 2 อนุภาค  จึงถูกดึงหรือสูญเสียอิเล็กตรอนไปได้ง่าย  ดังนั้นธาตุหมู่ 2A  จึงมีสมบัติความเป็นโลหะที่ดี
               
ที่มา    http://www.thaigoodview.com/node/75248                                                                        












ตอบ 3. O
อธิบาย

         
ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษ: radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้
  1. รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
  2. ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
  3. พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
  4. เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902
ด้วยเหตุนี้นี่เอง ทำให้ผู้ค้นพบได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
  1. รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (4 2He) มี p+ และ n อย่างละ 2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ
  2. รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก
  3. รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน
      

 


 

 

2 ความคิดเห็น: