กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554

ตอบ ข้อ 3. ค และ ง


  
 ขยะโดยทั่ว ๆ ไป มี 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. ขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ (Reuse และ Recycle) เช่น ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องเครื่องดื่ม และกระดาษลัง เป็นต้น การนำมาใช้ประโยชน์อาจจะอยู่ในรูปของการนำมาใช้ใหม่ (Reuse) เช่น ถุงพลาสติก เก็บไว้ใช้ห่อหิ้วสิ่งของต่าง ๆ ขวดสุรา ขวดเบียร์ และขวดเครื่องดื่มก็นำมาใช้บรรจุใหม่ได้ นอกจากนั้นการใช้ประโยชน์ในรูปของการเปลี่ยนรูป (Recycle) เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องเครื่องดื่ม สามารถนำไปหลอมใหม่แล้วนำมาเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุได้อีก เป็นต้น
2. ขยะธรรมชาติ (Compost) ขยะชนิดนี้ส่วนมากแล้วเกิดจากสิ่งของจากธรรมชาติ เช่น เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษใบไม้ และเศษอาหารต่าง ๆ ขี้เลื่อย แกลบ เป็นต้น ขยะชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ  ฉะนั้นจึงทำปุ๋ยหมักจากขยะประเภทนี้ได้ดี 
3. ขยะที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ขยะเหล่านี้นอกจากใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้วยังมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยสลาย เช่น พลาสติกจะใช้เวลามากกว่า 200 ปีในการย่อยสลาย โฟมอาจจะไม่มีการย่อยสลายเลย ดังนั้นจึงเป็นปัญหาในการกำจัด ไม่ว่าจะเป็นการฝังกลบ หรือเผา เพราะจะต้องใช้พื้นที่มาก และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้คนหากมีการกำจัดที่ไม่ถูกวิธี    

วิธีการกำจัดพลาสติก   
        
            1.  ใช้ปฏิกิริยาทางชีวเคมี
                     โดยผลิตพลาสติกที่มีโครงสร้างทางเคมีที่สามารถย่อยสลายได้  โดยเอนไซม์ของจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและเชื้อรา  เช่น  เซลลูโลสแซนเตต 
               และเซลลูโลสแอซีเตต  สามารถเกิดการย่อยสลายได้เมื่อมีออกซิเจน  ความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะ
         
2.  ใช้สมบัติการละลายในน้ำ
       โดยผลิตพลาสติกที่สามารถละลายน้ำได้  ตัวย่างพลาสติกที่ละลายน้ำได้  เช่น  พอลิไวนิลแอลกอฮอล์  สามารถละลายน้ำได้ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงหรืออยู่ในน้ำตามธรรมชาติ  และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นละลายได้เพิ่มขึ้น 
3.  ใช้แสงแดด 
นักเคมีชาวแคนาดาเป็นผู้ค้นพบวิธีทำให้พลาสติกถูกทำลายเมื่อโดนแสงแดด  คือ  เติมหมู่อะตอมที่ไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในโซ่พอลิเมอร์  เมื่อพลาสติกโดนแสงแดดจะเกิดสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ  ทำให้พลาสติกเสื่อมคุณภาพจึงเปราะ  แตก  หักง่าย
4.  ใช้ความร้อน
          ใช้สำหรับกำจัดพลาสติกพวกที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน  เมื่อได้รับความร้อนถึงระดับหนึ่งจะเกิดการสลายตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ ในที่สุดจะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ  สารอื่นๆ ที่เป็นพิษออกมาด้วย  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก
          การกำจัดพลาสติกด้วยการเผาเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับชุมชนที่มีปริมาณพลาสติกเหลือทิ้งมาก  เพราะเป็นวิธีที่รวดเร็ว  แต่มีข้อเสีย  คือ  ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างเตา  สิ้นเปลืองพลังงานความร้อน  และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก  คือ  ต้องมีการสร้างเตา  ต้องใช้เชื้อเพลิงให้พลังงานความร้อน  และต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
5.  นำกลับมาใช้ใหม่  ( รีไซเคิล ) 
          วิธีนี้ใช้ได้กับพลาสติกชนิดเทอร์มอพลาสติก  โดยการนำพลาสติกที่ใช้แล้ว  ล้างทำความสะอาด  ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเข้าเครื่องอัดเม็ด  เพื่อทำให้เป็นเม็ดพลาสติก  เม็ดพลาสติกที่ได้นี้ต้องผสมเม็ดพลาสติกใหม่เข้าไปด้วย  เพื่อปรับปรุงสมบัติบางประการของพลาสติกให้ดีขึ้น  ก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นงานต่างๆ
                    พลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่นี้ไม่ควรนำไปบรรจุอาหาร  เพราะยังไม่สะอาดเพียงพอ  แต่อาจนำไปผลิตเป็นถุงใส่ของ  โฟมกันกระแทกในการบรรจุผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ผสมซีเมนต์ถมที่ดินชายทะเลแล้วอัดให้แน่นเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย  อัดให้แน่นใช้ทำเป็นอิฐ  เป็นต้น  

           ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลจะมีสัญลักษณ์  ดังนี้



การรีไซเคิล (Recycle)
การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือกระบวนการที่เรียกว่า "รีไซเคิล" คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเหมือนเดิม หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้
ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรม นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียม และพลาสติก "การรีไซเคิล" เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป
การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่

1. การเก็บรวบรวม
2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
3. การผลิตหรือปรับปรุง
4. การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น วัสดุที่แตกต่างชนิดกัน จะมีกรรมวิธีในการผลิต แตกต่างกัน เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษ และสีที่แตกต่างกัน ต้องแยกประเภทออกจากกัน


โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate, PET, PETE) ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดบรรจุของดอง ขวดแยม ขวดน้ำมันพืช ถาดอาหารสำหรับเตาอบ และเครื่องสำอาง สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม ใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน ถุงหูหิ้ว กระเป๋า ขวด
โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density polyethylene, HDPE) ใช้ทำขวดนม น้ำ ผลไม้ โยเกิร์ต บรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด แชมพูสระผม แป้งเด็ก และถุงหูหิ้ว สามารถนำมารีไซเคิลเป็นขวดใส่น้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียมเพื่อใช้ทำรั้วหรือม้านั่งในสวน



โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density polyethylene, LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม

โพลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง
โพลิสไตรีน (Polystyrene, PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้เช่น เทปเพลง สำลี หรือของแห้ง เช่น หมูแผ่น หมูหยอง และคุ๊กกี้ นอกจากนั้นยังนำมาทำโฟมใส่อาหาร ซึ่งจะเบามาก สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

พลาสติกชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลาสติกทั้ง 6 กลุ่มข้างต้น หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิด
ในขั้นตอนของการบดพลาสติกเพื่อให้มีขนาดเล็กลง ไม่ไปอุดตันในกระบวนการรีไซเคิลนั้น จะทำให้พลาสติกรีไซเคิลมีสมบัติความแข็งแรงทางกายภาพลดลง เนื่องจากแรงเฉือนเชิงกล (Mechanical Shear) ใน เครื่องบดไปทำลายโซ่ของโพลิเมอร์ให้แตกออก ทำให้ความยาวของโมเลกุลและน้ำหนักโมเลกุลลดลง ซึ่งส่งผลให้สมบัติเชิงกลของพลาสติกลดลง นอกจากนั้น เรื่องของความบริสุทธิ์ก็มีความสำคัญต่อสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิดในการเลือกเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หากใช้กระบวนการแยกพลาสติกที่ไม่ดีพอ อาจทำให้ไม่ได้พลาสติก รีไซเคิลที่บริสุทธิ์

 

โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride, PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม ประตู หน้าต่าง วงกล และหนังเทียม สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม

ที่มา http://polymer502.multiply.com/journal/item/9


             
 มือถือ
        ส่วนประกอบมือถือส่วนใหญ่ แบ่งเป็น พลาสติก 45% ทองแดง 20% เซรามิก 10% โลหะอื่นๆ เช่น อลูมิเนียมและทอง 20% วัตถุดิบที่ไม่ใช่โลหะ 5% ทั้งนี้ พลาสติก โลหะ และเซรามิก ส่วนใหญ่ เป็นส่วนประกอบที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด 100% โดยสามารถถอดโลหะต่างๆ เช่นโลหะทอง แพ็ลเลเดียม ทองแดงออกจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของโทรศัพท์มือถือได้ กรอบพลาสติกสามารถนำไปรีไซเคิลได้ แบตเตอรี่เมื่อถูกนำมารีไซเคิลแล้วจะได้เป็นวัตถุดิบหลายชนิดมากมาย โลหะและพลาสติกในอุปกรณ์ต่างๆและเครื่องชาร์จแบตนั้นก็สามารถนำมารีไซเคิลได้อีกด้วย

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเวสต์" (e-waste) เป็นของเสียที่ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสียหรือไม่มีคนต้องการแล้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นประเด็นวิตกกังวล เนื่องจากชิ้นส่วนหลายชิ้นในอุปกรณ์เหล่านั้น ถือว่าเป็นพิษ และไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ หลายประเทศโดยเฉพาะแถบยุโรปตะวันตกถึงกับออกกฎหมายออกมารองรับกรณีดังกล่าวนี้ โดยให้บริษัทผู้ผลิตที่จะวางตลาดในผลิตภัณฑ์ด้านคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดก่อนถึงจะวางใหม่ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญที่ถูกนำออกมาใช้เพื่อแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นขยะพิษ ขณะเดียวกันด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่มีลักษณะใช้แล้วทิ้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบไม่เพียงแค่ในขอบข่ายของขยะอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น บรรจุภัณฑ์อื่นๆ ก็ถูกทิ้งลงถังขยะมากมายจนล้นเกิน หลายๆ ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณเพื่อทำการจัดเก็บและทำลายขยะแต่ละปีเป็นมูลค่ามหาศาล ซึ่งพฤติกรรมการใช้แล้วทิ้งที่เกิดขึ้นทั่วโลกนี้ หากยังไม่สามารถพัฒนาวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย หรือประเภทใช้แล้วสามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้ อาจก่อให้เกิดปัญหาขยะล้นโลกได้

ทิศทางการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อทศวรรษ 1990 มีบางประเทศในยุโรปได้ออกกฎหมายห้ามนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปถมในที่ดิน และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นในยุโรป ครั้นเมื่อต้นปี 2003 สหภาพยุโรป หรืออียู ก็ได้เสนอระเบียบ WEEE และ RoHS สำหรับการใช้ควบคุมในปี 2005 และ 2006 บางรัฐในสหรัฐอเมริกาได้ปรับปรุงนโยบายห้ามใช้จอ CRT ไปถมที่ดิน การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บางอย่างดำเนินการในสหรัฐอเมริกา กระบวนการนี้อาจเป็นการรื้อถอดชิ้นส่วนเป็นโลหะ พลาสติก และแผ่นวงจร หรือชำแหละเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ น้อยๆ นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมารัฐแคลิฟอร์เนียได้เริ่มใช้ค่าธรรมเนียมการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กับโทรทัศน์และมอนิเตอร์ใหม่ทุกรุ่นที่จำหน่ายไป เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนการรีไซเคิลด้วย สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของจอมอนิเตอร์นั่นเอง อัตราดังกล่าวยังมีการปรับปรุงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2005 เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการรีไซเคิลที่แท้จริง
โรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปที่พบในประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศนั้นอาศัยการถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกมาก่อน ซึ่งมีกำลังทำงานเพิ่มขึ้นสำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก โดยใช้ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ วัสดุที่ถูกป้อนเข้าเครื่องกำจัดขยะ ซึ่งจะผ่านไปตามสายพาน จะถูกส่งไปยังเครื่องคัดแยกเชิงกล และมีเครื่องคัดกรองอีกหลายชั้น เครื่องจักรรีไซเคิลทั้งหมดจะถูกปิดคลุมและใช้ระบบกักฝุ่น ปัจจุบันนี้ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รวมทั้งไต้หวัน ต่างก็กำหนดให้ผู้ขายและผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีส่วนรับผิดชอบในการรีไซเคิลขยะจากผลิตภัณฑ์ของตนถึงร้อยละ 75% ของจำนวนทั้งหมดที่ผลิตหรือขาย
หลายประเทศในเอเชีย ก็เริ่มตื่นตัวในเรื่องการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กันแล้ว บางประเทศได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างชัดเจน ขณะที่บางประเทศก็อยู่ระหว่างการศึกษา เพื่อหาแนวทางแก้ไขอันเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่สุด ทั้งในส่วนของการประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หรือเสนอร่างให้แก่สภานิติบัญญัติ ส่วนในสหรัฐอเมริกา สภาคองเกรสอยู่ระหว่างการพิจารณากฎหมายขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในจำนวนนี้ มีกฎหมายรีไซเคิลคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Computer Recycling Act)ที่เสนอโดย วุฒิสมาชิกไมค์ ทอมป์สัน (Mike Thompson) (D-CA) รวมอยู่ด้วย ขณะที่หลายรัฐของเมริกาก็ได้เสนอและผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วเช่นกัน ทั้งนี้ แคลิฟอร์เนียนับเป็นรัฐแรกที่เสนอกฎหมายดังกล่าว ตามมาด้วยรัฐแมรีแลนด์ รัฐเมน รัฐวอชิงตัน และรัฐมินเนสโซตา
เดิมนั้น การใช้ผลผลิตจากอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างไม่มีแบบแผน ผลิตภัณฑ์ที่เลิกใช้จะถูกทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ ซึ่งมีข่าวให้ได้ยินอยู่เนืองๆ ทั้งขยะพิษ ขยะกัมมันตรังสี และขยะที่อันตรายที่ระเบิดได้ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น สำหรับขยะพิษจากสารเคมี หรือโลหะหนักอันตรายนั้นจะต้องกำจัดด้วยวิธีพิเศษ เมื่อเร็วๆ นี้มีการรณรงค์กำจัดแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แต่เมื่อนานวันเข้า ก็หลงๆ ลืมๆ กันไป ส่วนการกำจัดขยะอื่น เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ ก็เคยมีการรณรงค์ก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ หรือการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ทำให้การแยกขยะทำได้ยาก หรือแทบไม่ได้ทำ
แนวทางการแก้ปัญหานั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้ผลิตและและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำหน้าอยู่แล้ว ย่อมรู้มาตรการและขั้นตอนการกำจัดขยะเหล่านี้เป็นอย่างดี แต่เมื่อรัฐบาลบางประเทศไม่มีมาตรการป้องกัน หรือระเบียบที่รัดกุม ผู้ผลิตก็อาจละเลย เพราะการมีขั้นตอนเพิ่มสำหรับการกำจัดขยะ ย่อมเป็นการเพิ่มต้นทุนไม่มากก็น้อย
ในส่วนของผู้ใช้ หากมีสถานที่รองรับขยะที่ชัดเจน ก็ควรให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การมีตัวอย่างที่เลวร้าย เป็นกรณีศึกษาและเป็นภาพเตือนใจที่ดี ทำให้สังคมตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้มากขึ้น
หากร้านค้า หรือจุดจำหน่ายสินค้า มีภาชนะสำหรับรับทิ้งขยะจากผลิตภัณฑ์ของตน ก็สามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้มาก และหากขยายขั้นตอนโดยเพิ่มความร่วมมือในหมู่ผู้ผลิตหลายๆ ราย ผู้ใช้สามารถทิ้งขยะหลายชนิดในจุดเดียว เพิ่มความสะดวก และน่าจะได้รับความร่วมมือมากขึ้นด้วย

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C






ตอบ ข้อ 1. ก ค และ ฉ


             น้ำค้าง เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นในอากาศที่จับตัวกันกลายเป็นหยดน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้น น้ำค้างจะเกิดในเวลากลางคืน เพราะเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิของอากาศในขณะนั้นต่ำ เมื่อถึงเวลากลางวันน้ำค้างที่หยดอยู่บนยอดหญ้า เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ก็จะระเหยไปหมด ปริมาณความชื้นในอากาศ เราเรียกว่า ความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าในอากาศที่มีความชื้นมากจะทำให้เรารู้สึกร้อนและเหนียวตัว แต่เมื่ออากาศหนาวมากน้ำค้างจะแข็งตัวเราเรียกว่า จุดน้ำค้างแข็ง จุดนี้ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มฤดูใบไม้ร่วงเพราะอุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก
ที่มา http://203.172.182.215/km/index.php?option=com_content&task=view&id=5190&Itemid=57


 การระเบิดของดินปืน
 ปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ อาจจะเกิดได้เร็วหรือช้าต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของปฏิกิริยา เช่น การระเบิดของดินปืน จัดว่าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดเร็วมากเพราะใช้เวลาไม่ถึงวินาที การลุกไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซหุงต้ม และน้ำมันเบนซิน ก็จัดเป็นปฏิกิริยาที่เกิดเร็ว การลุกไหม้ของถ่ายหรือของไม้ จัดว่าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดเร็วปานกลาง การเน่าเปื่อยของผัก ผลไม้ จัดว่าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดค่อนข้างช้า การเกิดสนิมของเหล็กจัดว่าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดช้ามาก เป็นต้น
             ปฏิกิริยาที่มีความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรมก็เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเช่นเดียวกัน ปฏิกิริยาเหล่านี้ให้ผลผลิตที่มีผลต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องผลิตให้ได้จำนวนมากและต้นทุนต่ำ ซึ่งก็คือต้องให้ได้ผลผลิตมากที่สุดในเวลาน้อยที่สุดนั่นเอง ในการนี้จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา เรียนรู้สภาวะต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการผลิต หรือสภาวะต่าง ๆ ที่ใช้ควบคุมการเกิดปฏิกิริยา



การคายความร้อน
        
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอน พลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้
1. การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของวัตถุจากตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่วัตถุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนไม่ได้เคลื่อนที่ เช่น การนำแผ่นอะลูมิเนียมมาเผาไฟ โมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนก่อนโมเลกุลที่อยู่ไกลออกไป เมื่อได้รับความร้อนจะสั่นมากขึ้นจึงชนกับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน และทำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันสั่นต่อเนื่องกันไป ความร้อนจึงถูกถ่ายโอนไปโดยการสั่นของโมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียม
โลหะต่างๆ เช่น เงิน ทอง อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นวัตถุที่นำความร้อนได้ดี จึงถูกนำมาทำภาชนะในการหุงต้มอาหาร วัตถุที่นำความร้อนไม่ดีจะถูกนำมาทำฉนวนกันความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น
2. การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวัตถุที่เป็นตัวกลางในการพาความร้อนจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับความร้อนที่พาไป ตัวกลางในการพาความร้อนจึงเป็นสารที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้ง่าย ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส ลมบกลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศที่พาความร้อนจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง การต้ม การนึ่ง และการทอดอาหารเป็นการทำให้อาหารสุกโดยการพาความร้อน
3. การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังโลก การแผ่รังสีความร้อนจากเตาไฟไปยังอาหารที่ปิ้งย่างบนเตาไฟ เป็นต้น
สมดุลความร้อน
สมดุลความร้อน หมายถึง ภาวะที่สารที่มีอุณหภูมิต่างกันสัมผัสกัน และถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน (และหยุดการถ่ายโอนความร้อน) เช่น การผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็นเข้าด้วยกัน น้ำร้อนจะถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับน้ำเย็น และเมื่อน้ำที่ผสมมีอุณหภูมิเท่ากัน การถ่ายโอนความร้อนจึงหยุด
การดูดกลืนความร้อนของวัตถุ
วัตถุทุกชนิดสามารถดูดกลืนพลังงานรังสี การดูดกลืนพลังงานรังสีของวัตถุเรียกว่า "การดูดกลืนความร้อน" จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วัตถุที่มีผิวนอกสีดำทึบหรือสีเข้ม จะดูดกลืนความร้อนได้ดี วัตถุที่มีผิวนอกสีขาวหรือสีอ่อนจะดูดกลืน ความร้อนได้ไม่ดี
ในทำนองตรงกันข้าม วัตถุที่มีความร้อนทุกชนิดสามารถคายความร้อนได้เช่นกัน โดยวัตถุที่มีผิวนอกสีดำจะคายความร้อนได้ดี และวัตถุที่มีผิวนอกขาวจะคายความร้อนได้ไม่ดี
ในชีวิตประจำวันใช้ประโยชน์จากสมบัติของการดูดกลืนความร้อนและการคายความร้อนของวัตถุในการเลือกสีทาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ชุดนักดับเพลิงมีสีสว่างและแวววาวเพื่อไม่ให้รับพลังงานความร้อนมากเกินไป บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตร้อนนิยมทาด้วยสีขาว เป็นต้น
การขยายตัวของวัตถุ
วัตถุบางชนิดจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนและจะหดตัวเมื่อคายความร้อน การขยายตัวของวัตถุเป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุ อัตราส่วนระหว่างขนาดของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับขนาดเดิมของวัตถุต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า "สัมประสิทธิ์ของการขยายตัว" วัตถุใดที่มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวมากจะขยายตัวได้มากกว่าวัตถุที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวน้อย เช่น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศเดียวกัน สังกะสี ตะกั่ว อะลูมิเนียม จะขยายตัวได้มากไปน้อย ตามลำดับ
ความรู้เรื่องการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อนถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น การเว้นรอยต่อของรางรถไฟ การเว้นช่องว่างของหัวสะพาน การประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ และการติดตั้งเทอร์มอสแตตไฟฟ้า เพื่อใช้ควบคุมระดับอุณหภูมิของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/18.htm






ตอบ ข้อ 4 การเปลี่ยนขนาดภาชนะที่บรรจุสารละลายที่ทำปฏิกิริยา

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคม

ปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์(สารใหม่) เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของสารตั้งต้นจะลดลงขณะที่ปริมาณสารใหม่จะเพิ่มขึ้นจนในที่สุด
ก. ปริมาณสารตั้งต้นหมดไป หรือเหลือสารใดสารหนึ่งและมีสารใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ (ไม่เกิดสมดุลเคมี) เช่น A + B      
              C
                จากปฏิกิริยาบอกได้ว่า A และ B หมดทั้งคู่หรือเหลือตัวใดตัวหนึ่ง ขณะเดียวกันจะมีสารC เกิดขึ้น
ข. ปริมาณสารตั้งต้นยังเหลืออยู่(ทุกตัว) เกิดสารใหม่ขึ้นมา เรียกว่าปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์(เกิดสมดุลเคมี) ซึ่งจะพบว่า ความเข้มข้นของสารในระบบจะคงที่ (สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์) อาจจะเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้ เช่น สมดุลของปฏิกิริยา A + B    
         C
            จากปฏิกิริยาบอกได้ว่าทั้งสาร A และ B เหลืออยู่ทั้งคู่ ขณะเดียวกันสาร C ก็เกิดขึ้น จนกระทั่งสมบัติของระบบคงที่
ชนิดของปฏิกิริยาเคมี
  • ปฏิกิริยาเนื้อเดียว (Homogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทุกตัวในระบบอยู่ในสภาวะเดียวกัน หรือกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น
  3H2(g) +N2(g)                    2NH3(g)
  • ปฏิกิริยาเนื้อผสม (Heterogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นอยู่ต่างสภาวะกันหรือไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น
Mg(s) + 2HCl(aq)                 MgCl(aq) +H2(g)
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of chemical reaction) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงในหนึ่งหน่วยเวลา
ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย (average rate) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา
  • อัตราการเกิดในปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous rate) หมายถึง ปริมาณของสารที่เกิดขึ้นขณะใดขณะหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลาของช่วงนั้น ซึ่งมักจะหาได้จากค่าความชันของกราฟ
หน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
                ในแต่ละปฏิกิริยาเมื่อมีการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็จะมีหน่วยต่างๆกันขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่นำมาหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งหน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็คือหน่วยของปริมาณของสารที่เปลี่ยนแปลงในหนึ่งหน่วยเวลาที่ใช้ เช่น
                ถ้าเป็นสารละลายจะใช้หน่วยความเข้มข้น คือ โมลต่อลิตรต่อวินาที หรือโมล.ลิตร-1วินาที-1 หรือ โมล/ลิตร.วินาที
                ถ้าเป็นก๊าซ จะใช้หน่วยปริมาตรคือลบ.ซม.ต่อวินาที หรือ ลบ.ดม.วินาที หรือลิตรต่อวินาที
                ถ้าเป็นของแข็งจะใช้หน่วยน้ำหนักคือกรัมต่อวินาที ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยที่ใช้กันมากคือเป็นโมล/ลิตร.วินาที

การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถหาได้จากสารทุกตัวในปฏิกิริยา แต่มักจะใช้ตัวที่หาได้ง่ายและสะดวกเป็นหลัก ซึ่งจะมีวิธีวัดอัตราการเกิดเป็นปฏิกิริยาหลายอย่าง เช่น
  • วัดจากปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น
  • วัดจากความเข้มข้นที่เปลี่ยนไป
  • วัดจากปริมาณสารที่เปลี่ยนไป
  • วัดจากความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
  • วัดจากความดันที่เปลี่ยนไป
  • วัดจากตะกอนที่เกิดขึ้น
  • วัดจากการนำไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป
เช่น การศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยา
Mg(s) + 2HCl(aq)      
           MgCl
2 (aq) +H 2 (g)
จะได้ว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยา =      อัตราการลดลงของ Mg
                                           =   1/2อัตราการลดลงของ HCl
                                           =    อัตราการเกิดขึ้นของ MgCl
2

                                           =    อัตราการเกิดขึ้นของ H
2

ในที่นี้จะพบว่าการหาปริมาตรของก๊าซ H
2
ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาจะง่ายและสะดวกที่สุด
นอกจากนี้ ค.ศ. Guldberg และ Waag ได้ตั้ง Law of Mass Action (กฎอัตราเร็วของปฏิกิริยา) ซึ่งกล่าวว่า อัตราการเกิดของปฏิกิริยามีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา
ปฏิกิริยา                         aA +bB
                 cC+dD
                       

                                 
   Rate  = K[A]m[B]n
K          =          specific rate constant
m,n      =             อันดับของปฏิกิริยาในแง่ของสาร A และสาร B
m+n     =             อันดับของปฏิกิริยารวม
[A], [B] =             ความเข้มข้นของสาร
ซึ่งการหาค่า m และ n สามารถทำได้ดังนี้
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า และอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 2 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 1-->2m = 2 จะได้ m = 1
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 4 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->2m =4 จะได้ m = 2
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 8 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 3-->2m = 8 จะได้ m = 3
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 9 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->3m = 9 จะได้ m = 2
  • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 3 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง 27 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ -3-->3m = 1/27 จะได้ m = -3






ตอบ ข้อ 2.0.25/0.18

กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (อังกฤษ: sulfuric acid หรือ อังกฤษบริติช: sulphuric acid) , H2SO 4, เป็น กรดแร่ (mineral acid) อย่างแรง ละลายได้ในน้ำที่ทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี ค.ศ. 2001 ทั่วโลกผลิตรวมกันประมาณ 165 ล้านตัน ซึ่งมูลค่าประมาณ 320,000 ล้านบาท (8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประโยชน์ของกรดกำมะถันได้แก่ ใช้ในการผลิตปุ๋ย กระบวนการผลิตแร่ การสังเคราะห์เคมี การกำจัดน้ำเสีย ใช้เป็นสารละลายอิเล็กทรอไลต์ในแบตเตอรี่และกระบวนการกลั่นน้ำมัน กรดกำมะถันมีชื่อเดิมคือ "Zayt al-Zaj" หรือ "ออยล์ออฟวิตริออล" (oil of vitriol)


แมกนีเซียม (อังกฤษ: Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม






ตอบ ข้อ 4

         สัญลักษณ์นิวเคลียร์ เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป




               เลขอะตอม (Atomic number)   หมายถึง  ตัวเลขที่แสดงถึงผลรวมจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ  ซึ่งมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน  บางครั้งใช้สัญลักษณ์  Z


                    เลขมวล  (Mass  number)  หมายถึงตัวเลขที่แสดงถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน บางครั้งใช้สัญลักษณ์  A
                                                                            
A  =  Z  +  n  (จำนวนนิวตรอน)
          เช่น       บอกได้ว่า  ธาตุ  มีเลขอะตอม  15  ( โปรตอน  =  15,  อิเล็กตรอน  =  15 )
                                                             มีเลขมวล  31  (นิวตรอน  =  16)      
                                                            เนื่องจากจำนวนนิวตรอน  เลขมวล  เลขอะตอม
                                                                                                    =  31  -  15     =  16
                           ดังนั้นจะได้ว่า     ===>     P  =  15 , e  =  15 , n  =  16 
                                                                  ===>     P =  19 , e  =  19  ,  n  =  20
                                                                    ===>     P =  92 , e  =  92  ,  n  =  143


atomic_structure/Learn/isotope.htm





ตอบ ข้อ 1.Na+

ฟอสฟอรัส (อังกฤษ: phosphorus) เป็นธาตุอโลหะ เลขอะตอม 15 สัญลักษณ์ P
ฟอสฟอรัสอยู่ในกลุ่มไนโตรเจน มีวาเลนซ์ได้มาก ปรากฏในหลายอัลโลโทรป พบทั้งในหินฟอสเฟต และเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกเซลล์ (ในสารประกอบในดีเอ็นเอ) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาได้สูง จึงไม่ปรากฏในรูปอิสระในธรรมชาติ
คำว่า ฟอสฟอรัส มาจากภาษากรีกแปลว่า 'ส่องแสง' และ 'นำพา' เพราะฟอสฟอรัสเรืองแสงอ่อนๆ เมื่อมีออกซิเจน หรือมาจากภาษาละติน แปลว่า 'ดาวประกายพรึก'
ในขณะที่ภาษาไทยในสมัยก่อน เรียก ฟอสฟอรัส ว่า 'ฝาสุภเรศ'[1]






ตอบข้อ 3. A กับ Y

ตารางธาตุที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น พัฒนามาจากตารางธาตุของเมนเดเลเอฟ ซึ่งมีการจัดเรียง คือ
      1. จัดเรียงธาตุตามแนวนอนโดยเรียงลำดับเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา
      2. ธาตุซึ่งเรียงตามลำดับเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นและเป็นแถวตามแนวนอนเรียกว่า คาบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 คาบ ได้แก่
    คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ H และ He
    คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ Li จนถึง Ne
    คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ Na จนถึง Ar
    คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ K จนถึง Kr
    คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ Rb จนถึง Xe
    คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ Cs ถึง Rn
    คาบที่ 7 มี 29 ธาตุ(ที่ค้นพบ) คือ Fr จนถึง Ds และ Uuu Uub Uuq Uuh Uuo
      3. ธาตุในแถวตามแนวตั้ง มีทั้งหมด 18 แถว เรียกว่า หมู่ ซึ่งมีตัวเลขกำกับ แบ่งออกเป็นหมู่ย่อย A และ B โดยที่
    หมู่ย่อย A มี 8 หมู่ คือ หมู่ I A จนถึง VIII A  (หมู่ O) และในหมู่ย่อยต่างๆ ของหมู่ A ก็มีชื่อเรียกเฉพาะ โดย
- หมู่ I A มีชื่อว่า โลหะอัลคาไล
- หมู่ II A มีชื่อว่า โลหะอัลคาไลน์ เอิร์ธ
- หมู่ VI A มีชื่อว่า คาลโคเจน
- หมู่ VII A มีชื่อว่า แฮโลเจน
- หมู่ VIII A มีชื่อว่า ก๊าซมีตระกูล (Noble Gas) หรือ ก๊าซเฉื่อย (Inert Gas)
    หมู่ย่อย B มี 8 หมู่ คือ หมู่ I B จนถึง VIII B แต่เรียงเริ่มจากหมู่ III B ถึงหมู่ II B ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ธาตุแทรซิชัน (Transition Elements)
      4. ส่วนธาตุ 2 แถวล่าง ซึ่งแยกไว้ต่างหากนั้น เรียกว่า ธาตุแทรนซิชันชั้นใน (Inner transition elements)
   ธาตุแถวบนคือธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 58 ถึง 71 เรียกว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ (Lanthanide series) ธาตุกลุ่มนี้ควรจะอยู่ในหมู่ III B โดยจะเรียงต่อจากธาตุ La
   ส่วนแถวล่าง คือ ธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 90 ถึง 103 เรียกว่า กลุ่มธาตุแอกทิไนด์ (Actinide series) ธาตุกลุ่มนี้ควรอยู่ในหมู่ III B โดยเรียงต่อจากธาตุ Ac
      5. ธาตุไฮโดรเจนมีสมบัติบางอย่างคล้ายธาตุหมู่ 1 และมีสมบัติบางอย่างคล้ายธาตุหมู่ 7 จึงแยกไว้ต่างหาก
      6. ธาตุที่เป็นโลหะและอโลหะถูกแยกออกจากกันด้วยเส้นหนักขั้นบันได โดยทางซ้ายของเส้นบันไดเป็นโลหะ ทางขวาของเส้นขั้นบันไดเป็นอโลหะ ส่วนธาตุที่อยู่ชิดเส้นบันไดจะมีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะ เรียกธาตุพวกนี้ว่า ธาตุกึ่งโลหะ (Metalloid) ได้แก่ โบรอน (B) ซิลิคอน (Si) เจอร์เมเนียม (Ge) อาร์เซนิกหรือสารหนู (As) แอนติโมนีหรือพลวง (Sb) และเทลลูเรียม (Te)

ลั ก ษ ณ ะ สำ คั ญ ข อ ง ธ า ตุ ภ า ย ใ น ห มู่ เ ดี ย ว กั น

   ธาตุซึ่งอยู่ภายในหมู่เดียวกันมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
      1. ธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน  จึงทำให้มีสมบัติคล้ายกัน  เช่น ธาตุลิเทียม (3Li มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,1) และธาตุโซเดียม (11Na มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,8,1) ต่างก็มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ ทั้งสองธาตุจึงมีคุณสมบัติคล้ายกัน  เป็นต้น
      2. ธาตุในหมู่ย่อย A (I A - VIII A) ยกเว้นธาตุแทรนซิชัน มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับเลขที่ของหมู่ เช่น ธาตุในหมู่ I จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ธาตุในหมู่ II จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เป็นต้น
      3. ธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ยกเว้นบางธาตุ เช่น Cr Cu เป็นต้น มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
      4. ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานไม่เท่ากัน โดยมีระดับพลังงานเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง เช่น 3Li 11Na 19K 37Rb 55Cs เป็นธาตุที่อยู่ในหมู่ที่ 1 จากบนลงล่าง  มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากับ 2 3 4 5 และ 6 ตามลำดับ
      5. ธาตุในหมู่เดียวกันจากบนลงล่าง  (จากคาบที่ 1 ถึงคาบที่ 7) จำนวนอิเล็กตรอนหรือจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมจะเพิ่มขึ้นดังนี้ 2, 8, 8, 18, 18, 32 ตามลำดับ เช่น ธาตุ หมู่ 1 H(Z=1)  Li(Z=3)  Na(Z=11)  K(Z=19)  Rb(Z=37)  Cs(Z=55)  Fr(Z=87)

ลั ก ษ ณ ะ สำ คั ญ ข อ ง ธ า ตุ ภ า ย ใ น ค า บ เ ดี ย ว กั น


 ธาตุซึ่งอยู่ภายในคาบเดียวกันมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
      1. ธาตุในคาบเดียวกันมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เท่ากัน  โดยมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา  ดังนั้น ธาตุในคาบเดียวกันจึงมีสมบัติต่างกัน  ยกเว้นธาตุแทรนซิชันซึ่งส่วนใหญ่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เท่ากัน  จึงมีคุณสมบัติคล้ายกันทั้งในหมู่และในคาบเดียวกัน
      2. ธาตุในคาบเดียวกันมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน  และเท่ากับเลขที่ของคาบ เช่น ธาตุในคาบที่ 2 ทุกธาตุ (Li ถึง Ne) ต่างก็มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากับ 2 คือชั้น K (n=1) และชั้น L (n=2) เป็นต้น



ที่มา http://203.158.100.100/charud/specialnews/3/periodic3/knowledge.htm




ตอบ ข้อ 2. 2 8 8 / 2 8


Ca คือ แคลเซียม (Calcium) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์พืช พืชดูดกินในรูปแคลเซียมไอออน (Ca+2) แหล่ง แคลเซียมไอออนที่ดีที่สุด คือ แคลเซียมไนเทรต เนื่องจากละลายง่าย ราคาไม่แพง  และยังให้ธาตุไนโตรเจนด้วย แหล่งอื่นๆ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ และแคลเซียมซัลเฟต

 ฟลูออไรด์ (Fluorine) เป็นสารประกอบของธาต ุ ฟลูออรีน (f) ที่ไม่ใช่สารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย เพราะไม่มีผลต่อการเจริญเติบ โตของร่างกายและอื่น ๆ แต่ฟลูออไรด์สามารถลดอัตราการเกิดฟันผุ (dental caries) ได้ การใช้ฟลูออไรด์เสริมต้องระมัดระวัง เพราะอาจมีผลเสียต่อกระดูกในร่างกายได้ ฟลูออรีน (Fluorine) เป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย มีมากที่สุดในกระดูกและฟันโดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน
หน้าที่ของฟลูออรีน
         ฟลูออรีนในน้ำดื่มจำนวนพอเหมาะจะช่วยป้องกันโรคฟันผุในเด็กได้ ถ้าเป็นระยะที่ฟันกำลังจะขึ้นหรือก่อนฟันขึ้นจะได้ผลมากที่สุด
แหล่งอาหารของฟลูออรีน
         อาหารที่มีมาก ได้แก่ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง ใบชา และในน้ำดื่ม ส่วนนม ผัก ผลไม้และเนื้อเสัตว์ มีฟลูออรีนอยู่น้อย น้ำที่มีฟลูออรีน 1 ส่วน ในล้านส่วนหรือลิตรละ 1-1.5 มิลลิกรัม จะช่วยป้องกันโรคฟันผุได้
ผลของการกินฟลูออรีนน้อย
          ถ้าเป็นระยะก่อนฟันขึ้นหรือฟันกำลังจะขึ้น อาจทำให้ฟันผุง่ายขึ้น
ผลของการกินมาก ฟลูออรีนในน้ำบริโภคปริมาณสูงกว่า 2 ส่วนในล้านส่วนจะทำให้เคลือบฟันเป็นจุด ถ้ากินอาหารมีฟลูออรีนสูงกว่า 20 ส่วนในล้านส่วน เคลือบฟันจะไม่เป็นเงาเปราะ (Fluorosis) เกิดอันตรายแก่กระดูกหรือฟลูออรีนอาจเข้าไปแทนที่ไอโอดีนในการสร้างธัย รอยด์ฮอร์โมนทำให้เกิดอันตรายได้


 




ตอบ ข้อ 1.A2B  AC  BC2

เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ
เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray)ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ



สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม
ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม(mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง(brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์(aluminium gallium arsenide) หรือ ซ็อกโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้
ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้นๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound)




ตอบ ข้อ 3
ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษ: radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้
1.               รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
2.               ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
3.               พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
4.               เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902
ด้วยเหตุนี้นี่เอง ทำให้ผู้ค้นพบได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1.               รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (4 2He) มี p+ และ n อย่างละ 2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ
2.               รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก
3.               รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน
     

2 ความคิดเห็น:

  1. 100คะแนน

    ตัวหนังสือทั้งเล็กทั้งจางค่ะ

    ที่หลังทำดีๆๆน่ะค่ะ

    ตอบลบ
  2. ให้ 85 คะแนน
    เนื้อหาไม่ค่อยตรงในบางข้อ

    ตอบลบ