กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 53

ส่งงาน


มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

การเกิดมิวเทชัน
การเกิดการมิวเทชันแบ่งออกได้เป็น  2  ชนิดคือ
1. มิวเทชันที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ  (spontaneous mutstion)อาจเกิดขึ้นเนื่องจากรังสี สารเคมี อุณหภูมิในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของ เบส(tautomeric shift)หรือการสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบส(ionization)ทำให้การจับ คู่ของเบสผิดไปจากเดิมมีผลทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชันหรือทรา สเวอร์ชัน  ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไป  แต่อัตราการเกิดมิวเทชันชนิดนี้จะต่ำมากเช่น เกิดในอัตรา 10-6 หรือ10-5
2.การมิวเทชันที่เกิดจากการชักนำ(induced mutation)เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์ใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์(mutagen)ชักนำให้เกิดขึ้นซึ่งสิ่งก่อกลายพันธุ์มีดังนี้

    2.1. สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางกายภาพ(physical mutagen)ได้แก่ อุณหภูมิ รังสีต่างๆ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

        ก.รังสีที่ก่อให้เกิดไอออน(ionizing radiation) รังสีประเภทนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้สูง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการแตกหักของโครโมโซม  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมรังสีเหล่านี้ได้แก่  รังสีแอลฟา เบตา แกมมา นิวตรอนซ์ หรือรังสีเอ็กซ์

        ข.รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน(non ionizing radiation)รังสีประเภทนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้ต่ำมักจะทำให้เกิดไทมีนไดเมอร์ (thymine dimer) หรือไซโทซีนไดเมอร์(cytosine dymer) รังสีประเภทนี้ได้แก่รังสีอัลตราไวโอเลต(UV)
    2.2 สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางเคมี(chemical mutagen) ได้แก่สารเคมีต่างๆซึ่งมีหลายชนิดเช่น

       ก. สารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับเบสชนิดต่างๆของดีเอ็นเอ (base analogues) ซึ่งสามารถเข้าแทนที่เบสเหล่านั้นได้ระหว่างที่เกิดการจำลองโมเลกุลของดี เอ็นเอ ทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสและรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปสารเคมีเหล่านี้ ได้แก่5-โบรโมยูราซิล  2-อะมิโนพิวรีน5-โบรโมยูราซิล   มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับไทมีน เมื่อเกิดการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอจะสามารถเข้าไปแทนที่ไทมีนได้ และสามารถเกิดtautomericหรือionizationได้ซึ่งเมื่อเกิดแล้วแทนที่จะจับคู่ กับอะดินีน จะไปจับคู่กับกัวนีน เมื่อมีการจำลองโมเลกุลต่อไปอีกจะทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสขึ้นได้

       ข. สารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูตรโครงสร้างของเบสซึ่งมีผลทำให้เกิด การแทนที่คู่เบสเช่นเดียวกัน ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปสารเคมีเหล่านี้ได้แก่ 
กรดไนตรัส  ไฮดรอกซิลลามีน ไนโตรเจนมัสตาด เอธิลมีเทนซัลโฟเนต      กรดไนตรัส จะทำหน้าที่ดึงหมู่อะมิโนออกจากโมเลกุลของเบสอะดินีน ไซโทซีน และกัวนีนทำให้เบสอะดีนีนเปลี่ยนเป็นไฮโปแซนทีน ซึ่งสามารถจับคู่กับเบสไซโทซีนได้ เบสไซโทซีนเปลี่ยนเป็นยูราซิลซึ่งสามารถจับคู่กับเบสอะดีนีนได้และเบสกัวนีน เปลี่ยนเป็นแซนทีน ซึ่งสามารถจับคู่กับเบสไซโทซีนได้ดังนั้นเมื่อเกิดการจำลองโมเลกุลของดีเอ็น เอจะทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชัน

      ค. สารเคมีที่ทำให้เกิดการเพิ่มและการขาดของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของ ดีเอ็นเอซึ่งมีผลทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไป  สารเคมีเหล่านี้ได้แก่  สีย้อมเช่น อะคริดีน ออเรนจ์,โพรฟลาวีน   โมเลกุลของอะคริดีน ออเรนจ์ หรือโพรฟาวีนสามารถเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอหรือทำให้โมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ที่ถูกแทรกโดย
อะคริดีน ออเรนจ์ หรือโพรฟาวีนหลุดออกมา เมื่อมีการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอ  จะได้โมเลกุลของดีเอ็นเอที่มีการเพิ่มของนิวคลีโอไทด์และการขาดหายไปของนิ วคลีโอไทด์   ยีนที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อาจจะกลายเป็นยีนเด่นหรือยีนด้อยก็ได้  หรืออาจทำให้เกิดการตายขึ้นได้(lethal  gene)



พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง

พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับความปลอดภัย
การพิจารณาว่าจี เอ็ม โอ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือ สิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องผ่านการทดลองหลายด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาท ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำเอาจี เอ็ม โอ หรือผลผลิตจากจี เอ็ม โอแต่ละชนิดออกสู่ผู้บริโภคนั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตพันฑ์จี เอ็ม โอ ทุกชนิด ทั้งที่นำมาเป็นอาหาร หรือที่นำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในทางพาณิชย์มีความปลอดภัยแล้ว บางคนคิดว่าจีเอ็มโอคือสารปนเปื้อนที่มีอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะจี เอ็ม โอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จี เอ็ม โอนั้นคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่เป็นผลพวงจากการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติตามอย่างที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะการสุกงอมที่ช้าลงกว่าปรกติ การดัดแปลงพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งให้ประโยชน์ต่อมนุษย์สูง เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ”ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่นไม่ต้องการให้อาหารมีการปนเปิ้อนของสารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหารเป็นต้น ดังนั้น จีเอ็มโอไม่ใช่สารปนเปื้อนแน่นอน

ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม

 วอลนัท

หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้ว จึงทำให้เม็ดวอลนัทนั้นมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นคือ
  1. ทนทานต่อโรค

 สตรอเบอรี่

การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ส่งผลให้สตรอเบอรี่
  1. เน่าช้าลง ทำให้สะดวกต่อการขนส่ง
  2. เพิ่มสารอาหาร

 แอปเปิล

ผลของการตัดต่อทางพันธุกรรมที่มีต่อแอปเปิลคือ
  1. ทำให้ความสดและความกรอบของผลแอปเปิลมีระยะเวลานานขึ้น (delay ripening)
  2. ทนต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช

 มะเขือเทศ

ลักษณะที่ดีขึ้นของมะเขือเทศ หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีดังนี้
  1. ทนทานต่อโรคมากขึ้น
  2. เพิ่มความแข็งของเนื้อมะเขือเทศมากขึ้น ทำให้ลดปัญหาผลผลิตเสียหายขณะขนส่ง
  3. ผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะเกิดการเน่าเสียช้าลง

 ข้าวโพด

ข้าวโพดนับว่าเป็นพืชทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เรานำมาทำการตัดต่อทางพันธุกรรม โดยการตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของเมล็ดข้าวโพด จึงทำให้ข้าวโพดที่ได้ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสร้างสารพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้ โดยเมื่อแมลงมากัดกินข้าวโพดนี้แมลงก็จะตาย [[

 มันฝรั่ง (Potato) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensi ==]] s เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มขึ้น (เพิ่มปริมาณโปรตีน) และในบางชนิดยังสามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อีกด้วย

 ถั่วเหลือง

มีการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลืองเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิด Roundup ได้ดีกว่าถั่วเหลืองทั่วไป ทำให้ผู้ปลูกสามารถใช้สาเครมีชนิด Roundup ได้มากขึ้น มีผลทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นตามไปด้วย

 ฝ้าย

เป็นฝ้ายที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมโดยใส่ยีนของแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) เข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ทำให้สามารถผลิตโปรตีน Cry 1A ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูฝ้ายได้

 มะละกอ

มีการตัดต่อพันธุกรรมมะละกอ เพื่อให้สามารถต้านทานโรคห่าได้ และมีเมล็ดมากขึ้น





การโคลนนิ่ง
โคลนนิ่ง (cloning)ภาษาอังกฤษเขียนว่า cloning หมายถึง การผลิตพืชหรือสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ เป็นกระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัย เพศชนิดหนึ่ง มนุษย์รู้จักโคลนนิ่งมาแต่สมัยโบราณแล้ว แต่เป็นการ รู้จักโคลนนิ่งที่เกิดกับพืช นั่นคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัย กระบวนการที่เกี่ยวกับเพศของพืชเลย โคลนนิ่งที่เป็นการขยาย พันธุ์พืชหรือสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศที่เป็นที่รู้จักและเรียกกัน ในภาษาไทยของเราว่า การเพาะชำพืชสำหรับเรื่องการโคลนนิ่ง ของสัตว์และมนุษย์ก็เป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่นกัน คำว่าโคลน (clone) มาจากคำภาษากรีกว่า “Klone” แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์ การโคลนนิ่ง คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม (genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสม กัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication” ดังนั้น การโคลนนิ่งจึงเป็นการทำสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือนกัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิวเหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตำหนิเหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งในทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในสัตว์เกิดปรากฏการณ์การเกิดแฝด ขึ้นได้น้อยมาก บางรายงานกล่าวว่าแฝด คู่สอง (twin) มีโอกาสเกิดน้อยกว่า ร้อยละ 1-5 และแฝดคู่สาม คู่สี่ หรือมากกว่า มีรายงานน้อยมาก
การพัฒนาวิทยาการทางด้านโคลนนิ่งเซลล์สัตว์นั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2423 หรือ 120 ปีที่ผ่านมา การทดลองค้นคว้าวิจัยได้ เกิดขึ้นมาเป็นลำดับ อาจจะมีทิ้งช่วงบ้างไปตามกาลเวลา แต่ความพยายามคิดค้นก็มิได้หยุดนิ่ง จุดเริ่มต้นการทำโคลนนิ่ง สัตว์เกิดขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 50 โดยนักชีววิทยาอเมริกันสองคน คือ โรเบิร์ต บริกกส์ (Robert W. Briggs) และ โทมัส คิง (Thomas J. King) แห่งสถาบันการวิจัยมะเร็งในฟิลาเดเฟีย ทั้งสองได้ร่วมทำการทดลองโคลนนิ่งสัตว์ โดยเริ่มต้นกับกบและได้ริเริ่มการทำ โคลนนิ่งด้วยวิธีการถ่ายโอนนิวเคลียส (nuclear transfer) โดยอาศัย เทคนิคที่พัฒนาโดย Sperman ซึ่งกลายเป็นวิธีการทำโคลนนิ่งที่ ใช้กันทั่วไป เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การโคลนนิ่งสัตว์ครั้งแรกๆ ได้ประสบความสำเร็จคือ การโคลนนิ่งแกะ Dolly ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ โคลนนิ่งตัวแรกของโลก ความสำเร็จนี้ได้จุดประกายในการที่จะค้นพบเรื่องการเพาะเซลล์4รวมถึงความฝันที่ต้องการสร้างมนุษย์ ขึ้นมาจากการโคลนนิ่งเซลล์ (ตารางที่ 1)



หลักการเบื้องต้นของการโคลนนิ่ง
วิธีโคลนนิ่งทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแยกเซลล์หรือตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว (blastomere separation or embryo bisection )
1.1 การแยกเซลล์ (blastomere separation) หลังปฏิสนธิตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์จะมีการแบ่งตัวเป็นทวีคูณ จากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด เรื่อยๆไป หากต้องการทำแฝดเราสามารถทำโดยการแยกเซลล์เดี่ยวๆ ออกมา เช่น หากเป็น 2 เซลล์ ก็นำมาแยกเป็น 1:1 หรือหากเป็น 4 ก็แยกเป็น 4 ส่วน 1:1:1:1 เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าการเจริญเป็นตัวอ่อนปกติหรือตัวเต็มวัยตัวอ่อนหลังแบ่งต้อง ประกอบด้วยเซลล์จำนวนหนึ่งที่เพียงพอ หากแบ่งแล้วไม่พอเพียงก็ไม่สามารถเจริญเป็นตัวอ่อนที่ปกติหรือตัวเต็มวัยได้จึงเป็น ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่ง
1.2 การตัดแบ่งตัวอ่อน ( embryo bisection ) ตัวอ่อน ระยะมอรูล่า หรือ ระยะบลาสโตซีสสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน โดยใช้ใบมีดขนาดเล็ก (microblade) ติดกับเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า “micromanipulator” ข้อแตกต่างของการตัดแบ่งระยะ มอรูล่าและระยะบลาสโตซีส คือ แนวการแบ่ง หากเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าสามารถแบ่งในแนวใดก็ได้ให้สมดุลย์ (symmetry) แต่หาก เป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต้องตัดแบ่งในแนวที่ผ่านเซลล์ภายในที่เรียกว่า อินเนอร์เซลล์แมส (inner cell mass, ICM) ทั้งนี้เพราะ ตัวอ่อนระยะนี้เซลล์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว (differentiation) แม้ว่าการโคลนสัตว์แบบการแยกเซลล์หรือการตัดแบ่งตัวอ่อน นี้มีข้อดีคือสามารถทำได้เร็ว ไม่ต้องมีขั้นตอนมากมาย แต่ก็มีข้อจำกัดคือไม่สามารถแบ่งตัวอ่อนได้มากตามจำนวนเซลล์
2. การย้ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer or nuclear transplantation)9-10
การย้ายฝากนิวเคลียสเป็นวิธีการที่ค่อนข้างจะซับซ้อน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนโดยย่อคือ ก. เตรียมโอโอไซต์ตัวรับ (oocyte recipient preparation) ข. เตรียมนิวเคลียสจากตัวอ่อน ต้นแบบ (nuclear donor preparation) ค. ดูดเอานิวเคลียสตัวอ่อนให้ใส่ไปยัง ไซโตพลาสซึ่มของโอโอไซต์ (nuclear transfer) ง. เชื่อม นิวเคลียสให้ติดกับไซโตพลาสซึ่มของโอโอไซต์ (oocyte-nuclear fusion) จ. การเลี้ยงนำตัวอ่อน (embryo culture) และ ฉ. การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer)


ประโยชน์และโทษของการโคลนนิ่ง
การโคลนนิ่งนี้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก ในแง่การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การใช้วิธีโคลนนิ่งจะช่วยให้ปรับปรุงพันธุ์ได้เร็วขึ้น ในแง่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ สามารถช่วยลดจำนวนสัตว์ที่ใช้ในการทดลองให้น้อยลง เนื่องจากสัตว์มีลักษณะทางพันธุกรรม เหมือนกัน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดลองในทางการแพทย์มีความพยายามที่จะผลิตเนื้อเยื่อมนุษย์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มีความพยายามที่จะโคลนนิ่งมนุษย์ทั้งคน แต่อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยอมรับ จัดว่าเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม ในทางการแพทย์แม้มีข้อกล่าวอ้างถึงประโยชน์จากการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะของมนุษย์ แต่ยังมีวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การโคลน เช่น stem cell research และ transgene techniqueที่อาจพัฒนามาใช้ในจุดประสงค์ดังกล่าวได้นอกจากความผิดทางจริยธรรมทางการ แพทย์แล้ว การโคลนนิ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับจากทางศาสนจักรโรมันคาธอลิก และยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักสังคมศาสตร์ในแง่มุมของ การเสียไปของการพิสูจน์บุคคลหากยอมให้มีการโคลนเกิดขึ้น การโคลนนิ่งมนุษย์จึงยัง เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะกระทำได้ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีนักวิทยาศาสตร์หลายๆกลุ่มที่ยังพยายามโต้แย้งในประเด็น ดังกล่าวเนื่องด้วยข้อจำกัดทางจริยธรรม ทางการแพทย์ดังกล่าว ข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการโคลนมนุษย์ในปัจจุบันจึงยังมีอยู่ อย่างจำกัด





ไวรัสคือปรสิตของเซลล์ จึงจะมีชีวิตรอดและสืบพันธุ์ได้ โดยยั้บยั้งการสร้างโปรตีนและสารพันธุกรรมของ        โฮสเซลล์ แล้วอาศัยกรดนิวคลีอิก โปรตีน และชีวโมเลกุลสร้างลูกหลานของมันเอง แล้วจะ Budding (แตกออก) ไปสู่เซลล์อื่นๆ
โครงสร้าง 1. สารพันธุกรรม(กรดนิวคลีอิก)(นิวคลีโอโปรตีน) DNA หรือ RNAใน core particle
                2. เอนเวอร์โลป (เดือย)เป็นไกลโคโปรตีน มีไว้ยึดเกาะเซลล์อื่น(ชั้นสูง)
                3. แคปซิด โปรตีนเล็กมากๆห่อหุ้มสารพันธุกรรมกำหนดรูปร่าง
                4. แมททริค สะสมเอนไซม์(โปรตีนภาย)ในแคปซิดสร้างเอนเวอร์โลป
รูปร่าง       ที่ก่อโรคในคนเป็นรูปหลายเหลี่ยม ที่ก่อโรคในพืชเป็นรูปฮีลิค
จำแนก      ดูที่นิวคลีโอไทด์ ว่า
                 1.เป็น DNA or RNA
                 2.ถ้าทราบชนิดของสารพันธุกรรมแล้ว ดูว่าเป็นวงแหวน/เส้นตรง/ท่อน สายคู่หรือสายเดี่ยว
                 3.ดูการมีเอนเวอร์โลป (ขั้นสูง)
                 4.ความสมมาตรของแคปซิด
                 5.ดูวงชีวิต
                เช่น หวัดนก เป็นRNA สายคู่  ตับอักเสบ B DNAวงแหวน
      *HIV สารพันธุกรรมเป็น RNA แต่มีเอนไซม์พิเศษ "Revers transcriptase" เป็นสารพันธุกรรมเป็น DNA
วงชีวิต 1  (ไลติก(แตก) ไซเคิล)
1.เกาะที่เยื่อบุผิว (simple squamus) แล้วมันจะฉีดสารพันธุกรรมของมันเข้า cell เรา(attach ment) แต่บางครั้งเซลล์เราผลัดผิวได้ทำให้ไวรัสหลุด
2.ควบคุม DNA ให้ transcription and translation ให้แก่ไวรัส (เลวทราม)
3.มีเซลล์ไวรัสในเซลล์โฮส ---} ตาย เพราะไวรัสประกอบตัวทำให้เซลล์แตก 
วงชีวิต 2 Lysogenic cycle (หลอมรวม)
ไวรัส HIV ตับอักเสบ มะเร็ง
1-2.เหมือนวงไลติก
3.หลอมรวมนิวเคลียส
4.แบ่งตัว(ยังน้อยอยู๋)
5.ถ้าเซลล์ไม่ดี(ระยะแฝงยาวนาน) ก็จะแตกออกไปเซลล์ใหม่(ย้ายไป lytic ) อีก ในระยะโพรเฟส 

ที่มา    http://52070145.exteen.com/20090824/virus










ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)
ได้แก่พวก สาหร่ายสีน้ำตาล
แหล่งที่พบ ในน้ำเค็ม
ลักษณะ
1. สาหร่ายในไฟลัมพีโอไฟตา เรียกโดยทั่วไปว่าสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) ทั้งนี้เพราะมีรงควัตถุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทีน (Fucoxanthin) อยู่มากกว่าคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี สาหร่ายสีน้ำตาลมีมากในทะเลตามแถบชายฝั่งที่มีอากาศเย็น มีเพียง 35 จีนัสที่พบในน้ำจืด สาหร่ายสีน้ำตาลมักเรียกชื่อทั่วไปว่า sea weed เพราะเป็นวัชพืชทะเล
2. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสและกรดอัลจินิก (alginic acid) ซึ่งสามารถสกัดสารอัลจิน (algin) มาใช้ประโยชน์ได้
3. รูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่มองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีรูปร่างเป็นสายยาวแตกกิ่งก้าน เช่น Ectocarpus บางชนิดมีรูปร่างเป็นแผ่นแผ่แบนหรือคล้ายใบไม้โบกไหวอยู่ในน้ำ เช่น Laminaria บางชนิดคล้ายต้นปาล์มขนาดเล็กเรียกว่า Sea palm บางชนิดคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ เช่น Sargassum หรือสาหร่ายนุ่น หรือรูปร่างคล้ายพัด เช่น Padina
4. สาหร่ายสีน้ำตาลมีหลายเซลล์ พวกที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า เคลป์ (Kelp) ซึ่งอาจมีความยาว 60-70 เมตร เช่น Macrocystis , Nereocystis พวกที่มีขนาดใหญ่มักมีลักษณะเหมือนพืชชั้นสูงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
   4.1 โฮลด์ฟาสต์ (Haldfast) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นราก สำหรับยึดเกาะแต่ไม่ได้ดูดแร่ธาตุเหมือนพืชชั้นสูง โฮลด์ฟาสต์ของพวกนี้สามารถแตกแขนงได้มาก และยึดเกาะได้แข็งแรง
   4.2 สไตป์ (Stipe) หรือคอลลอยด์ (Colloid) คือส่วนที่อยู่ถัดจากรากขึ้นมาทำหน้าที่คล้ายลำต้น
   4.3 เบลด (Blade) หรือลามินา (Lamina) หรือฟิลลอยด์ (Phylloid) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นใบ บางชนิดมีถุงลม (air bladder หรือ Pneumatocyst) อยู่ที่โคนใบเพื่อช่วยพยุงให้ลอยตัวอยู่ได้ในน้ำ จากลักษณะดังกล่าวจึงถือกันว่าสาหร่ายสีน้ำตาลมีวิวัฒนาการสูงสุดในบรรดาสาหร่ายด้วยกัน (ยกเว้นสาหร่ายไฟ)
5. ส่วนประกอบของผนังเซลล์ เซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาลประกอบด้วย
   5.1 ผนังเซลล์ มี 2 ชั้น ชั้นในเป็นพวกเซลลูโลส ชั้นนอกเป็นสารเมือก กรดอัลจินิกซึ่งจะอยู่ที่ผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ โดยมีประมาณถึง 24% ของน้ำหนักแห้ง กรดอัลจินิกนี้เมื่อสกัดออกมาจะอยู่ในรูปของเกลืออัลจิเนต สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีคุณสมบัติเป็นตัวทำให้เกิดอิมัลชัน ( Emulsifying agent) และเป็นตัวคงรูป (Stabillzing agent)
   5.2 คลอโรพลาสต์ มีเพียง 1 อัน หรือมีจำนวนมากในแต่ละเซลล์ขึ้นอยู่กับชนิด คลอโรพลาสต์ จะมีลักษณะกลมแบน (Platelike) หรือเป็นแฉกรูปดาว ไพรีนอยด์เกิดเดี่ยว ๆ เป็นแบบมีก้านติดอยู่ข้าง ๆ คลอโรพลาสต์ โดยมีผนังคลอโรพลาสต์หุ้มรวมไว้
   5.3 นิวเคลียสมีเพียง 1 อัน ในแต่ละเซลล์
   5.4 อาหารสะสมมี 3 ชนิด ได้แก่
      1. โพลีแซกคาไรด์ที่ละลายน้ำ ได้แก่ ลามินาริน (Laminarin) หรือลามินาเรน (Laminaran) มีปริมาณตั้งแต่ 2-34 % ของน้ำหนักแห้ง
      2. แมนนิตอล (Mannitol) พบเฉพาะในสาหร่ายสีน้ำตาลเท่านั้น
      3. น้ำตาลจำพวกซูโครส (Sucrose) และกลีเซอรอล (Glycerol)
6. การสืบพันธุ์ สาหร่ายสีน้ำตาลมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) คล้ายกับพืช
ความสำคัญ

1. Laminara ใช้ทำปุ๋ยโปตัสเซียม
2. Laminara และ Kelp สกัดได้จากสารแอลจิน (algin) ทำไอศกรีม พลาสติก สบู่



ที่มา http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/phaeophyta.htm





ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหาร
ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย
ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)

หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จาก ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน

ตัวอย่าง เช่น


จากแผนภาพ จะสังเกตเห็นว่า การกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในห่วงโซ่อาหารนี้ เริ่มต้นที่ ต้นข้าว ตามด้วยตั๊กแตนมากินใบของต้นข้าว กบมากินตั๊กแตน และ เหยี่ยวมากินกบ ซึ่งจากลำดับขั้นในการกินต่อกันนี้ สามารถอธิบายได้ว่า


ต้นข้าว นับเป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารนี้ เนื่องจากต้นข้าว เป็นพืชซึ่งสามารถสร้างอาหารได้เองโดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง


ตั๊กแตน นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เนื่องจาก ตั๊กแตนเป็นสัตว์ลำดับแรกที่บริโภคข้าวซึ่งเป็นผู้ผลิต


กบ นับเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 เนื่องจาก กบจับตั๊กแตนกินเป็นอาหาร หลังจากที่ตั๊กแตนกินต้นข้าวไปแล้ว


เหยี่ยว เป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย เนื่องจาก เหยี่ยวจับกบกินเป็นอาหาร และในโซ่อาหารนี้ไม่มีสัตว์อื่นมาจับเหยี่ยวกินอีกทอดหนึ่ง

ในการเขียนโซ่อาหาร ให้เขียนโดยเริ่มจากผู้ผลิต อยู่ทางด้านซ้าย และตามด้วยผู้บริโภคลำดับที่ 1, ผู้บริโภคลำดับที่ 2, ผู้บริโภคลำดับที่ 3 ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงผู้บริโภคลำดับสุดท้าย และเขียนลูกศรแทนการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีก สิ่งมีชีวิตหนึ่ง หรือ เขียนให้หัวลูกศรชี้ไปทางผู้ล่า และปลายลูกศรหันไปทางเหยื่อนั่นเอง


แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้[1][2] แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
เมื่อแสงอาทิตย์ส่องถึงผิวโลก บางส่วนจะถูกดูดกลืนไว้และทำให้ผิวพื้นโลกอุ่นขึ้น เนื่องจากผิวโลกเย็นกว่าผิวดวงอาทิตย์มากมันจึงแผ่กระจายพลังงานที่มีช่วงคลื่นยาวกว่าดวงอาทิตย์ โดยมีช่วงยาวมากสุดที่อินฟราเรดหรือที่ประมาณ 10µm. บรรยากาศจะดูดกลืนช่วงคลื่นที่ยาวกว่าได้ดีกว่าแสงช่วงคลื่นสั้นของแสงอาทิตย์ การดูดกลืนพลังงานช่วงคลื่นยาวนี้เองที่ทำให้บรรยากาศร้อนขึ้น ในขณะเดียวกันบรรยากาศก็ได้รับความร้อนจากถ่ายโอนของความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงที่พื้นผิวโลกด้วย แก๊สเรือนกระจกยังปล่อยรังสีคลื่นยาวทั้งขึ้นสู่ห้วงอวกาศและปล่อยลงสู่พื้นผิวโลก ส่วนรังสีคลื่นยาวที่ปล่อยลงโดยบรรยากาศนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” ซึ่งเป็นชื่อที่ผิดเพราะกระบวนการที่เกิดดังกล่าวไม่ใช่กลไกที่ทำให้เรือนกระจกร้อนขึ้น
แก๊สเรือนกระจกส่วนใหญ่คือไอน้ำ ซึ่งมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกบนโลกประมาณร้อยละ 36-70 (โปรดสังเกตว่าเมฆไม่ได้ประกอบด้วยไอน้ำและเมฆมีผลต่อภูมิอากาศในลักษณะอื่น) คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีผลร้อยละ 9-26, มีเทนมีผลร้อยละ 4-9, และโอโซนร้อยละ 3-7 เป็นการยากหรือเกือบเป็นไปไม่ได้ที่ชี้ลงไปให้ชัดว่าแก๊สใดมีผลต่อบรรยากาศแน่นอนเท่าใดเนื่องจากอิทธิพลของแก๊สเหล่านี้เป็นพวกที่นำไปรวมกันไม่ได้ (ด้านสูงของช่วงเป็นการบ่งถึงตัวแก๊สเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ปลายของช่วงข้างต่ำใช้บ่งถึงการเหลื่อมที่เกิดในการแจงนับ) [3][4] แก๊สเรือนกระจกอื่นๆ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะได้แก่ไนตรัสออกไซด์ (nitrous oxide) ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (sulfur hexafluoride) ไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน (hydrofluorocarbon) เปอร์ฟลูโอโรคาร์บอน (perfluorocarbon) และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbons) (ดู รายชื่อแก๊สเรือนกระจกของ IPCC -IPCC list of greenhouse gases)
ส่วนประกอบหลักของบรรยากาศได้แก่ไนโตรเจน (N2) และออกซิเจน (O2) ซึ่งไม่ใช่แก๊สเรือนกระจก ทั้งนี้เนื่องจากมันลักษณะเป็นโมเลกุลอะตอมคู่ชนิดนิวเคลียสเอกพันธ์ (homonuclear diatomic molecules) ดังเช่น N2 and O2 จะไม่ดูดกลืนหรือปล่อยรังสีอินฟราเรดเพราะไม่มีการแลกเปลี่ยนโมเมนต์ขั้วคู่ (dipole moment) ของโมเลกุลเหล่านี้เมื่อมันสั่นตัว การสั่นของโมเลกุลเกิดขึ้นเมื่อขนาดพลังงานของมันเท่ากับขนาดของพลังงานโฟตอนของอินฟราเรด โมเลกุลอะตอมคู่ชนิดนิวเคลียสวิวิธพันธ์ เช่น CO หรือ HCl ดูดกลืนอินฟราเรด แต่โมเลกุลของเหล่านี้มีอายุสั้นในบรรยากาศเนื่องจากคุณสมบัติทางปฏิกริยาและการถูกละลายได้ง่ายของมัน มันจึงมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกน้อยมาก
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2420) นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองและพบว่า N2 and O2 ไม่ดูดกลืนรังสีอินฟราเรด (กล่าวถึงกันในสมัยนั้นว่า “รังสีมืด” - dark radiation) และว่า CO2 และก๊าซอีกหลายชนิดก็ไม่ดูดกลืนอินฟราเรด เป็นที่ยอมรับกันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2470) ว่าแก๊สเรือนกระจกที่ทราบเกือบทั้งหมดในบรรยากาศมีผลทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศสูงขึ้นกว่าการไม่มีแก๊สเรือนกระจก

ธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์
แก๊สเรือนกระจกเกือบทั้งหมดมีที่มาจากทั้งธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ในระหว่างยุคโฮโลซีน (holocene) ซึ่งเป็นยุคก่อนอุตสาหกรรม การสะสมของแก๊สต่างๆ ในบรรยากาศค่อนข้างอยู่ตัว นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา การสะสมของแก๊สบางชนิดเพิ่มปริมาณขึ้น มีหลักฐานบ่งชัดว่าการเพิ่มเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มากกว่าการเกิดตามธรรมชาติ

แก๊สระดับก่อนอุตสาหกรรมlระดับปัจจุบันl  การเพิมตั้งแต่ พ.ศ. 2300   Radiative forcing (Wm2)
คาร์บอนไดออกไซด์280 ppm384ppm87 ppm1.46
มีเทน700 ppb1,745 ppb1,045 ppb0.48
ไนตรัสออกไซด์270 ppb314 ppb44 ppb0.15
ไดคลอโรไดฟลูโอโรมีเทน (CFC-12)0533 ppt533 ppt0.17

ตัวอย่างแกนน้ำแข็ง (Ice core) ได้ให้หลักฐานที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของการสะสมของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศของโลกในช่วง 800,000 ปีที่ผ่านมา ทั้ง CO2 และCH4 ผันแปรระหว่างยุคน้ำแข็งและยุคระหว่างยุคน้ำแข็ง (interglacial phases) ซึ่งการสะสมของแก๊สเหล่านี้สัมพันธ์อย่างชัดเจนกับระดับอุณหภูมิ ก่อนหน้านี้การวัดปริมาณโดยตรงอย่างที่ได้จากตัวอย่างแกนน้ำแข็งยังไม่มี การวัดโดยใช้วิธีแบบจำลองและการใช้ตัวแทนแสดงให้เห็นการผันแปรค่อนข้างมาก เมื่อ 500 ล้านปีก่อน ระดับของ CO2 มีปริมาณสูงกว่าปัจจุบันมากกว่า 10 เท่า[5] ความจริงแล้วเชื่อกันว่าการสะสมที่สูงมากของ CO2 มีมาตลอดบรมยุคฟาเนอโรโซอิ (Phanerozoic eon) โดยมีปริมาณการสะสม 5-6 เท่าของปริมาณในบรรยากาศปัจจุบันในยุคเมโสโซอิก และ 10-15 เท่าในยุคพาเลโอโซอิก (Palaeozoic era) ตอนต้นและต่อเนื่องมาถึงยุคเดโวเนียน (Devonian period) ประมาณ 400 ล้านปีก่อน[6] [7] [8] การกระจายขยายตัวของพืชบนบกได้ลดปริมาณการสะสม CO2 ในช่วงปลายยุคเดโนเวียน การทำหน้าที่ของพืชทั้งด้านการเป็นแหล่งเกิดและแหล่งเก็บกักของ CO2 การเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสเถียรภาพการป้อนกลับ[9] ในช่วง 200 ล้านปีก่อนหน้านั้นได้เกิดยุคน้ำแข็งกลับไปกลับมาจนมีน้ำแข็งปกคลุมเกือบถึงเส้นศูนย์สูตร (เรียกกันว่าโลกก้อนหิมะ Snowball Earth) และได้เกิดการหยุดอย่างกระทันหันเมื่อประมาณ 500 ล้านปีก่อนจากการระเบิดอย่างมหาศาลของภูเขาไฟที่ได้ปลดปล่อย CO2 ออกมาทำให้ปริมาณของมันพุ่งขึ้นถึงร้อยละ 12 อย่างกระทันหัน หรือเท่ากับประมาณ 120 เท่าของปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกและการเกิดคาร์บอเนต เช่น หินปูน ในอัตราสูงถึงประมาณ 1 มิลลิเมตรต่อวัน[10] เหตุการณ์ใหญ่ในครั้งนี้ได้ปิดบรมยุคพรีแคมเบรียนลงและทดแทนโดยยุคฟาเนโรโซอิก (Phanerozoic) ที่ร้อนกว่า ที่ซึ่งเป็นยุคที่สัตว์และพืชหลายเซลล์เริ่มวิวัฒนาการขึ้น หลังยุคนี้ก็ไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในจำนวนมหาศาลอย่างนี้ออกมาอีก และ ณ ปัจจุบัน การปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากภูเขาไฟสู่บรรยากาศยังมีปริมาณการปลดปล่อยน้อยกว่ากิจกรรมของมนุษย์

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81







อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
   - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
   - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
   สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
   1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
   2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)





การให้น้ำ

หลังจากการปลูกใหม่ ๆ ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน และค่อย ๆ ห่างขึ้น เช่น 3-4 วันต่อครั้ง จนกว่าต้นมะม่วงจะตั้งตัวได้ การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการปลูกมะม่วงเพื่อให้ผลได้อย่างเต็มที่การให้น้ำอย่างเพียงพอตามที่ต้นมะม่วงต้อง การ จะช่วยให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ได้ผลเร็วขึ้น การปลูกมะม่วงในที่ที่น้ำไม่ อุดมสมบูรณ์ควรจะกะเวลาปลูกให้ดี ให้ต้นกล้ามะม่วงได้รับน้ำฝนนานที่สุด เพื่อต้นจะได้ตั้งตัวได้ก่อนที่จะถึงฤดูแล้ง หรือการปลูกต้นกล้วยก่อน แล้วจึงปลูกมะม่วงตามลงไปดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดการให้น้ำได้มาก การดูแลรักษา
การเตรียมความพร้อมต้นมะม่วง
มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต
กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก
ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น
มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่
การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก
ปลายฤดูฝนได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 2-52-34 อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยให้มะม่วงไม่แตกใบอ่อนและ ยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป
การเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
พัฒนาการของตาดอก
มะม่วงจะพักตัวระยะหนึ่งแล้วจะเริ่มแทงช่อดอก ในระยะนี้ควรเริ่มให้น้ำปริมาณน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของช่อดอก ทำการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามคำแนะนำ
การเพิ่มการติดผล
หลังจากมะม่วงเริ่มติดผลแล้วควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำขึ้น โดยในระยะ 7-10 วัน หลังการติดผล เพิ่มปริมาณการให้น้ำมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับที่มะม่วงต้องการอย่างเต็มที่
การส่งเสริมการพัฒนาของผล
โดยการให้น้ำไปตลอด และหยุดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 10-15 วัน
ใส่ปุ๋ย ตามพัฒนาการของผล
การป้องกันผลผลิตเสียหาย
การห่อผล ห่อเมื่อผลอายุ 45-60 วัน จะทำให้มะม่วงมีคุณภาพดี เช่น ผิวผลสวย ลดการร่วงของผล ลดหรือป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลงบางชนิด เป็นต้น
ที่มาhttp://mango-poon.blogspot.com/



สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)
          หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน 
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล 
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก 
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis
ที่มา http://www.waizon.net/simple/?t86.html




2 ความคิดเห็น:

  1. 100คะแนน

    ตัวหนังสือเล็กเกินไปและก็ติดกันเกินไปด้วย

    ตอบลบ
  2. 90 คะแนน
    เนื้อหาบางข้ออาจไม่ตรง

    ตอบลบ